Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » นางทิวาทิพย์ เทียมชัยภูมิ
 
Counter : 20048 time
การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีเรื่องลีลาวดี (๒๕๔๖)
Researcher : นางทิวาทิพย์ เทียมชัยภูมิ date : 20/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระมหาต่วน สิริธมฺโม
  นายสนิท ศรีสำแดง
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
Graduate : ๘ เมษายน ๒๕๔๖
 
Abstract

     วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวรรณกรรมองพระพุทธศาสนาเรื่องลีลาวดี ของธรรมโฆษจากการศึกษาพบว่า นวนิยายเรื่องลีลาวดีเป็นวรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนา
ที่มีจุดประสงค์เน้นการเผยแพร่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นประเด็นสำคัญมากกว่าให้ความเพลิดเลิน
     เค้าโครงเรื่องของนวนิยาย กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างตัวละครต่างๆ ตั้งแต่กลวิธีการประพันธ์ ฉาก โดยใช้ฉากที่มีความสมจริงในประเทศอินเดียสมัยพุทธกาล ตัวละครมีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกนิสัยตามสถานการณ์ บทสนทนาส่วนมากชี้แนะถึงข้อคิดและคติธรรมในพระพุทธศาสนา รวมทั้งแนวคิดจากเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นแกนนำไปสู่สัจจธรรมแห่งชีวิตตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ตลอดทั้งเหตุการณ์บางตอนของเรื่องได้แทรกหลักคำสอนที่ให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม
     หลักธรรมที่นำเสนอในนวนิยายเรื่องลีลาวดีแบ่งเป็น ๒ ประเด็น คือ หลักธรรมในส่วนที่เป็นจริยธรรมซึ่งเป็นจริยธรรมซึ่งเป็นบุคคลควรประพฤติในสังคม ได้แก่ ความกตัญญู ความเสียสละ ความเมตตาและให้อภัย ความสันโดษ ความรัก และกัลยาณมิตร เป็นต้น และหลักธรรมที่เป็นสัจจธรรมได้แก่ ขันธ์ ๕ อริยสัจ ๔ สติปัฎฐาน ๔ ไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท ซึ่งล้วนแต่เป็นหลักธรรมที่ควรแก่การศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะหลักคำสอนถึงความทุกข์ของมนุษย์ที่เป็นแนวคิดของนวนิยายเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนาสอนเป็นประการแรก เพราะในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นย่อมมีความทุกข์มาเกี่ยวข้อง ที่มนุษย์ต้องแก้ไขด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพราะสาเหตุแห่งความทุกข์มีมากมาย ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นความทุกข์ของตัวละครที่เนื่องมาจากความรักหลายรูปแบบของปุถุชน
ตั้งแต่ความรักที่เจือด้วยกิเลศราคะเพราะความไม่รู้จริงของชีวิตทำให้ยึดติดในตัณหา และรักแบบกัลยาณมิตรเป็นรักแบบเมตตาในพระพุทธศาสนา ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดและไม่หวังสิ่งตอบแทน ความรักประเภทนี้นำมาซึ่งความสงบสุขแก่มวลมนุษยชาติ ดังเช่นความรักของลีลาวดี ที่ความทุกข์นำไปสู่การบรรลุตัดกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง หลังจากที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาที่ทรงแสดงให้เห็นถึงความเป็นอนิจจังของชีวิตตามกฎแห่งไตรลักษณ์
     คุณค่าของนวนิยายเรื่องลีลาวดีในด้านสังคมไทย แสดงให้เห็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่ไม่มีการถือชนชั้นวรรณะของบุคคล เพราะคนจะดีหรือเลวนั้นขึ้นอยู่กับความประพฤติ รวมถึงให้แนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสามารถของผู้ประพันธ์ ที่ได้นำความเชื่อและความศรัทธาที่เป็นพื้นฐานทางจิตใจของชาวพุทธมาเป็นแรงจูงใจให้เกิดดารปฏิบัติตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี
     ในส่วนของคุณค่าด้านวรรณกรรมนั้น ได้ปรากฏรสแห่งวรรณคดีที่สะท้อนถึงอารมณ์และความรู้สึกได้อย่างซาบซึ้งแห่งอรรถรส และโวหารที่ให้ข้อคิดในเชิงเปรียบเทียบเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดี นับว่านวนิยายเรื่องลีลาวดีเป็นวรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง ที่มีความสมบูรณ์ด้วยเนื้อหาและคุณค่าของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย
 

Download : 254621.pdf
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012