Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » นายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ
 
Counter : 20004 time
การใช้การสร้างตัวชี้วัดเพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงโดยเปรียบเทียบกับพุทธเศรษฐศาสตร์(๒๕๕๐)
Researcher : นายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ date : 17/08/2010
Degree : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  ศ.ดร. อภิชัย พันธเสน
  พระมหาเจิม สุวโจ
  รศ.ดร. ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
Graduate : ๒๘ กุมภาพันธ์๒๕๕๐
 
Abstract

              การวิจัยนี้ ต้องการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างพุทธ
เศรษฐศาสตร์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถนำไปสู่การสร้างตัวชี้วัดเพื่อกำหนดระดับ
ของความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพุทธเศรษฐศาสตร์และแนวทางในการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัด
ดังกล่าว ด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร ภายใต้กรอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ๔ ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎี
การผลิต ทฤษฎีการบริโภค ทฤษฎีอรรถประโยชน์ และทฤษฎีการกระจายผลผลิต
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ได้ข้อสรุปว่า หลักพุทธธรรมที่นำ มาใช้ในพุทธ
เศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา โยนิโสมนสิการ และอัปปมาทธรรม มีความสัมพันธ์กับ
คุณลักษณะด้านความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ในปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง โดยมัชฌิมาปฏิปทากับความพอประมาณ เป็นวิธีการหรือหนทางในการพัฒนา
ตน โยนิโสมนสิการกับความมีเหตุผล เป็นเครื่องอำนวยสนับสนุนการพัฒนาตน และอัปปมาท
ธรรมกับการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เป็นเครื่องกำกับการพัฒนาตน
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ได้ข้อสรุปว่า หลักพุทธธรรมที่นำ มาใช้ในพุทธ
เศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา โยนิโสมนสิการ และอัปปมาทธรรม มีความสัมพันธ์กับ
คุณลักษณะด้านความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ในปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง โดยมัชฌิมาปฏิปทากับความพอประมาณ เป็นวิธีการหรือหนทางในการพัฒนา
ตน โยนิโสมนสิการกับความมีเหตุผล เป็นเครื่องอำนวยสนับสนุนการพัฒนาตน และอัปปมาท
ธรรมกับการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เป็นเครื่องกำกับการพัฒนาตน
ผลการศึกษาพบว่าเนื้อหาของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมีขอบเขตจำกัดอยู่เพียงพุทธ
เศรษฐศาสตร์ที่มีองค์ธรรมในระดับศีลเป็นประธาน การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพุทธ
เศรษฐศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก จึงสามารถใช้เฉพาะองค์ธรรมในระดับศีลเป็น
เครื่องมือในการศึกษาเปรียบเทียบ โดยองค์ธรรมในระดับศีลที่เกี่ยวข้องกับ ๔ ทฤษฎีหลักทาง
เศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ ที่ประกอบด้วย อาชีวปาริสุทธิศีล ในกิจกรรมการผลิต
ปัจจัยสันนิสิตศีล ในกิจกรรมการบริโภค อินทรียสังวรศีล ในเรื่องอรรถประโยชน์ และปาฏิ
โมกขสังวรศีล ในการกระจายผลผลิต
จากการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อค้นหาตัวชี้วัดที่สามารถกำหนดระดับของความเป็น
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพุทธเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งตัวอย่างและแนวทางในการประยุกต์ใช้
ตัวชี้วัด สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามกรอบ
ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีการบริโภค ทฤษฎีอรรถประโยชน์ และทฤษฎีการกระจายผลผลิต โดยผล
จากการวิเคราะห์นำมาซึ่งการสร้างตัวชี้วัดเพื่อกำหนดระดับของความพอเพียงภายใต้คุณลักษณะ
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว จำนวน ๑๓ ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดด้าน
ความพอประมาณ จำนวน ๗ ตัว แบ่งเป็นตัวชี้วัดความพอประมาณในกระบวนการ ๔ ตัว (กลุ่ม
ตัวชี้วัดเชิงเปรียบเทียบ) ประกอบด้วย ประสิทธิภาพการผลิต ประสิทธิผลการผลิต ประสิทธิภาพ
การบริโภค ประสิทธิผลการบริโภค และตัวชี้วัดความพอประมาณระหว่างกระบวนการ ๓ ตัว
(กลุ่มตัวชี้วัดเชิงสัมพัทธ์) ประกอบด้วย ความไม่พอเพียง ความพอเพียงขั้นพื้นฐาน ความพอเพียง
ขั้นก้าวหน้า ตัวชี้วัดด้านความมีเหตุผล จำนวน ๔ ตัว (กลุ่มตัวชี้วัดเชิงสัมบูรณ์) ประกอบด้วย
คุณค่าของปัจจัยการผลิต คุณค่าการผลิต คุณค่าของปัจจัยการบริโภค คุณค่าการบริโภค และ
ตัวชี้วัดด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว จำนวน ๒ ตัว (กลุ่มตัวชี้วัดเชิงสัมพัทธ์) ประกอบด้วย
สัดส่วนปัจจัยการผลิต สัดส่วนปัจจัยการบริโภค
ผลจากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นประโยชน์และแนวทางในการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดทั้งใน
ระดับบุคคล ระดับครัวเรือน ระดับองค์กร ระดับชุมชน และระดับประเทศในรูปของดัชนีต่างๆ
อาทิดัชนีจตุภาค สำหรับการพัฒนาในระดับบุคคล ดัชนีโภคภาพ สำหรับการบริโภคในระดับ
ครัวเรือน ดัชนีผลิตภาพ สำหรับการผลิตในระดับองค์กร รวมถึงข้อสังเกตในการใช้ดัชนีความสุข
มวลรวมประชาชาติ (GNH) และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นเครื่องชี้สภาวะ
ทางเศรษฐกิจระดับประเทศ
ตัวชี้วัดที่สร้างขึ้นสามารถใช้อธิบายคุณลักษณะของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็น
นามธรรม ให้เป็นที่เข้าใจได้ง่าย ชัดเจนเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ตัวกระบวนการสร้างตัวชี้วัดยัง
สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการ
ปฏิบัติ ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการและการประเมินผลในระหว่างการ
ปฏิบัติได้ด้วย

 

 

 

Download :  255014.pdf

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012