หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางไฉไลฤดี ยุวนะศิริ และคณะ
 
เข้าชม : ๔๙๗ ครั้ง
ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชื่อผู้วิจัย : นางไฉไลฤดี ยุวนะศิริ และคณะ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบวัดความรู้สึกผูกพันกับองค์การ (OCQ/ Organizational Commitment Questionnaire) จำนวน ๙๗๕ ชุด สามารถจัดเก็บได้ จำนวน ๗๙๓ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๓๓ สถิติในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ t - test  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 


              ๑. ระดับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า  บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีความผูกพันต่อองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย ๑.๙๘ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพทางสังคม สถานภาพสมรส การตัดสินใจเปลี่ยนงานกับระดับความผูกพันต่อองค์การมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ส่วน ประเภทบุคลากร ตำแหน่งการบริหาร กับระดับความผูกพันต่อองค์การมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

              ๒. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะงานทุกตัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และปัจจัยด้านประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงาน ตัวแปร ๔ ตัว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ส่วนตัวแปร ๑ ตัว คือ ทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความผูกพันต่อองค์การอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

             ผลการวิเคราะห์พหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะงาน มีตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ระดับความผูกพันต่อองค์การ ๔ ตัว ได้แก่ ลักษณะงานที่ท้าทาย ลักษณะงานที่มีโอกาสก้าวหน้า ลักษณะงานที่มีความเป็นอิสระในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และลักษณะงานที่ต้องสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ สามารถอธิบายการผันแปรของระดับความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ ๓๘ ส่วนปัจจัยด้านประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงาน มีตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ระดับความผูกพันต่อองค์การ ๒ ตัว ได้แก่ ความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ และทัศนคติของตนต่องาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ สามารถอธิบายการผันแปรของระดับความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ ๔๑.๙

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕