หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางนวลจันทร์ สมุทรสกุลเจริญ
 
เข้าชม : ๕๐๙ ครั้ง
การศึกษากระบวนการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาพหุปัญญา ฯ
ชื่อผู้วิจัย : นางนวลจันทร์ สมุทรสกุลเจริญ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษากระบวนการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาพหุปัญญา ของผู้เรียนวิชาวิถีธรรม วิถีไทย : กรณีศึกษานักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง

                                                       บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการที่พัฒนามาจากกระบวนการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา  มีผลต่อการพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียนวิชาวิถีธรรมวิถีไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2552  โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  จำนวน 45 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) รูปแบบกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการของผู้เรียน วิชาวิถีธรรม วิถีไทย  แบ่งเป็น 9 ภาค  ได้แก่  ภาคความเข้าใจ   ภาคการสร้างสรรค์  ภาคการรับรู้และสำนึก    ภาคการแนะแนว  ภาคการวิจารณ์     ภาคการประเมินตนเอง ภาคเสริมประสบการณ์   ภาคการนำเสนอ    และภาคการวัดประเมินผล   2) แบบบันทึกกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการของผู้เรียนสร้างและออกแบบตามรูปแบบกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการ 9 ภาค  3) แบบประเมินกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ เป็นภาคการวัดและประเมินผล 4) ตัวผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอน  การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยได้ทำการวิเคราะห์จากหลักฐานที่ผู้เรียนได้บันทึกลงในแบบบันทึกกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการในขณะเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบประเมินกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
          ผลจากการทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการทั้ง 9 ภาค  พบว่า  กระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการ 9 ภาค มีผลทำให้เกิดการพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียน นอกเหนือจากนั้น ยังพบว่า กระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการ 4 ภาค คือ  ภาคความเข้าใจ ภาคการสร้างสรรค์  ภาคการรับรู้และสำนึก และภาคการประเมินตนเอง ก็มีผลอย่างเห็นได้ชัดต่อการพัฒนาทั้ง 10 ด้านตามทฤษฎีพหุปัญญา ของโฮเวิร์ด   การ์ดเนอร์ จากผลการทดลองดังกล่าว  สามารถสรุปได้ว่า  กระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการที่พัฒนามาจากกระบวนการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา สามารถส่งผลต่อการพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียน ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า  การวิจัยนี้  มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาในการนำรูปแบบกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการมาใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียน  การสร้างสรรค์ผลงาน  การมีส่วนร่วมและการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕