หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายดวงชัย มงคลกุล
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายที่ ๑ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑
ชื่อผู้วิจัย : นายดวงชัย มงคลกุล ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.ชวาล ศิริวัฒน์ พธ.บ., M.Ed., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ.ดร.สมชัย ศรีนอก พธ.บ., M.Ed., M.A., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                     การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายที่ ๑ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๑ (๒) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นทางการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา  กลุ่มเครือข่ายที่ ๑ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต  จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน (๓) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายที่ ๑ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน ๑๒๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ตอน คือตอนที่ ๑ เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ มีความเชื่อมั่น .๙๑ และตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักธรรมภิบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test)

 

 

                     ผลการวิจัยพบว่า

                     ๑. ระดับการบริหารการศึกษาของการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายที่ ๑ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๑ ทั้ง ๖ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักคุณธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความมีส่วนร่วม ด้านหลักความโปร่งใส และ ด้านหลักความคุ้มค่า

                     ๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริหารและครูที่มี เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ว่า ผู้บริหารและครูที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารและครู ที่มีตำแหน่งต่างกัน มีการบริหารการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ว่า ผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมา       ภิบาลแตกต่างกัน

                     ๓. ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ควรมุ่งเน้นไปในการนำข้อเสนอแนะของครู มาร่วมพิจารณาหาผลดี ผลเสียในการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน ควรนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารการศึกษาตามนโยบายของรัฐให้มาก ควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล และต้องให้ชุมชนกล้าแสดงออกในการเสนอแนะแนวทางการบริหารที่ชุมชนต้องการ ควรรณรงค์การรักถิ่นสถานศึกษาเดิมของคนในชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมอยู่เสมอๆ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕