หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเพชรสมพร ญฺาณสมฺปนฺโน (สินชัย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง.:.ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ชื่อผู้วิจัย : พระเพชรสมพร ญฺาณสมฺปนฺโน (สินชัย) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, พธ.บ..(เกียรตินิยมอันดับ ๑) ศศ.ม., รป.ม.(การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร.ยุทธนา ปราณีต, พธ.บ., ร.บ., M.A., Ph.D.(Pol. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

กกกกกกกกการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม  ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชน จำนวน ๓๘๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และเอฟ.(F-test).โดยใช้การสังเคราะห์และความแปรปรวนแบบทางเดียว.(One way. ANOVA).โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ.(Key Informants).คือ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานายกองค์การบริหารส่วนตำบลสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลประธานสภาองค์กรชุมชนและประธานประชาคมหมู่บ้านจำนวน ๙ คน.แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา.(Content.Analysis.Technique)

 

 

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

              ๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน ๑๙๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๔   มีอายุ ๓๑ ๔๕ ปี มีจำนวน ๑๗๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๓ ส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรม มีจำนวน ๑๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีจำนวน ๓๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๖       มีระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ๑๑-๓๐ ปี มีจำนวน ๑๕๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๓

              ๒. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =๓.๑๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านการร่วมคิด ( =๓.๑๕) ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ ( =๓.๑๒) ด้านการร่วมดำเนินการ ( =๓.๑๐) ด้านการร่วมประเมินผล ( =๓.๐๘)

              ๓. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำแนกตาม เพศ อายุ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามอาชีพ วุฒิการศึกษา พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

              ๔. ปัญหา อุปสรรคการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในการวางแผนโครงการหรือกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้อยไม่สามารถเข้าร่วมปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำขึ้นไม่ได้รับการบริการงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ประชาชนต้องการไม่มีส่วนร่วมในการตรวจสอบงบประมาณที่องค์การบริหารส่วนตำบลนำไปใช้

              ข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นให้มาก ในการวางแผนโครงการ รวมถึงสำรวจความคิดเห็นการทำประชาพิจารณ์ควรเปิดกว้างให้ประชาชนที่มีความรู้ความสามารถได้เข้ามามีส่วนร่วมควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานสาธารณะให้มากควรเปิดเผยการใช้จ่ายงบประมาณให้มีความชัดเจนในการนำงบประมาณไปใช้ในการบริหารจัดการท้องถิ่น 

              ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการร่วมคิดร่วมดำเนินการร่วมรับผลประโยชน์และร่วมประเมินผลมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕