หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโอภาสปัญญาวรคุณ (พิน โอภาโส)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การบริหารการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยฉะเชิงเทรา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโอภาสปัญญาวรคุณ (พิน โอภาโส) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รศ.ดร. สมาน งามสนิท B.A., M.A., Ph.D. (Pub. Admin.)
  อาจารย์ พระครูวิทิตปัญญาภรณ์ พธ.บ., พธ.ม., Ph.D. (Socail. Dev.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษา การบริหารการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา ๒) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการบริหารการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา

              ระเบียบวิธีวิจัย ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ทั้งหมด จำนวน ๖๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๘ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                 ผลการวิจัยพบว่า

              ๑) การบริหารการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =๔.๐๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารการ ศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้  ด้านหลักสูตร ( =.๒๔) ด้านการจัดการเรียนการสอน ( =.๑๒) ด้านการวัดผลประเมินผล ( =.๐๓) และด้านการนิเทศการสอน ( =.๘๗) ตามลำดับ

 

 

 

              ๒) ข้อเสนอแนะ ต่อการบริหารการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัย ฉะเชิงเทรา ด้านหลักสูตร โดยรวมควรปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การสอน และควรมีการศึกษาวิจัยหลักสูตร ก่อนการนำมาใช้จริง  ด้านการเรียนการสอน จัดอบรมเสริมความรู้ให้แก่บุคลากร ในเรื่องกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการสร้างบรรยากาศ และแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความ สนใจใฝ่รู้ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนในรายวิชา ได้มีโอกาสออกไปศึกษาดูงาน หรือฝึกปฏิบัติธรรม เพื่อให้ครูได้รับประสบการณ์ตรง  ด้านการนิเทศการสอน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง รักษามาตรฐานการสอนของตน และควรมีการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างคุ้มค่า โดยมีโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างสถานศึกษ ด้านการวัดและประเมินผล ควรกำหนดหลักการ และวิธีการวัดผลให้ชัดเจน และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยยึดถือปฏิบัติเหมือนกัน ทั้งในภาคทฤษฎี และปฏิบัติ เพื่อให้สามารถใช้ข้อสอบมาตรฐานร่วมกันได้ระหว่างสถานศึกษา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕