หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิหาร เขมวโร (เที่ยงไธสง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
การบริหารโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : กรณีศึกษา ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔
ชื่อผู้วิจัย : พระวิหาร เขมวโร (เที่ยงไธสง) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร. อินถา ศิริวรรณ พธ.ม. M.A in ed, Ph.D
  พระมหาสหัส ฐิตสาโร, ผศ.ปธ. ๓, พธ.บ. (ครุศาสตร์), M.A. Pub.( Admn.)
  ผศ.บุญเลิศ จีรภัทร์ วท.ม. (สถิติ) M.A. (พัฒนาการการเศรษฐกิจ)
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง  “การบริหารโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาบริบทของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา  (๒) เพื่อศึกษาการบริหารโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และ (๓) เพื่อศึกษารูปแบบ ปัจจัยและองค์ประกอบในการพัฒนาที่เหมาะสม ของการบริหารโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้บริหารโครงการและพระวิปัสสนาจารย์เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องการบริหารโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

ผลการวิจัยพบว่า

บริบทการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติจะมีอินทรีย์แก่กล้า ควรมีสัปปายะ ๗ ประการ คือ อาวาสสัปปายะ โคจรคามสัปปายะ ภัสสะสัปปายะ บุคคลสัปปายะ โภชนะสัปปายะ ฤดูและอิริยาบถสัปปายะ นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติควรมีกัลยาณมิตรที่ดี นั่นคือพระวิปัสสนาจารย์ ต้องเป็นที่เคารพนับถือของศิษย์ เป็นผู้มีศีลและคุณธรรม เป็นที่ยกย่องสรรเสริญจากจิตใจที่เที่ยงธรรม สามารถอบรมลูกศิษย์ให้ดีด้วยความฉลาด ผู้ปฏิบัติต้องมีหลักการปฏิบัติตน คือ มีองค์แห่งการบรรลุโสดาบัน ๔ ประการ คือ ควรคบสัตบุรุษ การฟังพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การมนสิการโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และข้อปฏิบัติที่ควรละเว้น ๗ ประการ  คือ เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ สวดมนต์ พูดคุยมาก ไม่ตั้งใจกำหนด นอนมาก และพอใจคลุกคลีกับหมู่คณะ

การบริหารโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยฝ่ายวิปัสสนาธุระ ส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เปิดสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นที่วัดมหาธาตุ โดยมีพระมหาโชดก ญาณสิทธิ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ หลังจากนั้นได้พัฒนาโครงการมาเป็นระยะ มีภารกิจหลายประการ โดยมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น ระยะเวลาในการจัดโครงการ งบประมาณ การดำเนินการ รวมถึงคณะกรรมการดำเนินงาน สถานที่จัดโครงการ รวมถึงพระวิปัสสนาจาร วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิปัสสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ดำเนินโครงการไปตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือการพิจารณาดูกาย การพิจารณาดูเวทนา การพิจารณาดูจิต และการพิจารณากำหนดรู้ธรรม เพราะมีวิธีการเดียวที่เป็นทางสายเอกในการประหารกิเลส ซึ่งเป็นเอกลัษณ์เฉพาะของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้ว ฝ่ายวิปัสสนาธุระก็ได้มีการสรุปและประเมินผลโครงการทุกครั้ง

รูปแบบ องค์ประกอบและปัจจัยที่เหมาะสม ของการบริหารโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รูปแบบของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานส่วนใหญ่เป็นหลักสูตร ๓ วัน ๒ คืน เดือนละ ๒ ครั้ง จัดให้กับหน่วยงานภายในและภายนอกที่มาขอใช้บริการของฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน การจัดองค์กรของฝ่ายวิปัสสนาธุระ แบ่งเป็นงานธุรการ และการบริการฝึกอบรม งานบริการฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทำหน้าที่ต้อนรับผู้มาร่วมงาน ต้อนรับพระวิปัสสนาจาร จัดทำกำหนดการ กำหนดกิจกรรมและระยะเวลา กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม รวมถึงการติดตามประเมินผลและรายงานผลโครงการให้มหาวิทยาลัยได้รับทราบ การบริหารงานของฝ่ายวิปัสสนาธุระ ใช้ SWOT เพื่อการกำหนดจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เข้าปฏิบัติธรรม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕