หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสุพิวรรณ นาท้าว
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๙ ครั้ง
ศึกษาหลักพุทธธรรมที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการอบรมเยาวชนจิตอาสาศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย : นางสุพิวรรณ นาท้าว ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ,ดร. พธ.บ.(ปรัชญา) M. A.(Phil.) Ph.D. (Phil.)
  พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺญโญ ดร.พธ.บ.M.A (sociology.) Ph.D.(Sociology.)
  ดร.ประยูร แสงใส ป.ธ.๔, พ.ม.,พธ.บ.(ครุฯB.A., M.A.(Ed.)Ph.D.(Ed.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

        การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศึกษาหลักพุทธธรรมที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการอบรมเยาวชนจิตอาสาศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อ”โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อ  ๒) เพื่อศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้หลักธรรมของเยาวชนจิตอาสาของศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อ  ๓)เพื่อศึกษาผลของการใช้หลักพุทธธรรมในโครงการอบรมเยาวชนจิตอาสา ศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อ จังหวัดอุบลราชธานี  การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยเน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และวิจัยภาคสนาม (Field Research) ผลการวิจัยพบว่า

                        การดำเนินงานของเยาวชนจิตอาสาของศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อ  คือการดำเนินการด้วยยึดหลักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปัน เกื้อกูล เป็นไปตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ หลักสังคหวัตถุ ๔ หลักอิทธิบาท ๔ หลักพรหมวิหาร ๔  ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔      สาราณียธรรม ๖ สามัคคีธรรม เบญจศีลเบญจธรรม และกัลยาณธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ส่งเสริมการอบรมเป็นเยาวชนจิตอาสาที่ดีได้

            กลุ่มเยาวชนจิตอาสาของศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อ สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมที่สำคัญคือสังคหวัตถุ ๔ พรหมวิหาร ๔ และ อิทธิบาท ๔ หลายรูปแบบและเหมาะตามสถานการณ์  ซึ่งทำให้เยาวชนจิตอาสามีคุณลักษณะอันพึงสงค์ที่โดดเด่นคือเป็นคนที่มีน้ำใจ รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักความรับผิตชอบ และทำงานโดยไม่วังผลตอบแทน

                           ผลของการใช้หลักพุทธธรรมในการอบรมเยาวชนจิตอาสาของศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อนั้น ได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การอบรมโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมแก่สถาบัน ต่าง ๆ และได้สร้างหลักสูตรเยาวชนจิตอาสาอีเอ็ม สร้างเครือข่ายโรงเรียนเยาวชนจิตอาสามากกว่า ๓๐๐ โรงเรียน  เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมกิจกรรมจิตอาสาโดยการได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงแม้ว่ามีปัญหาขัดข้องบางประการ แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ส่วนเยาวชนจิตอาสาสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทั้งสามดังที่กล่าวมาได้เป็นอย่างดี และเหมาะสมตามกิจกรรมจิตอาสา นั้น ๆ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕