หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวยุวรินทร์ โตทวี
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๒ ครั้ง
บทบาทในการสอนกรรมฐานของสตรีในประเทศไทย
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวยุวรินทร์ โตทวี ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ศ. (พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังษี อ.บ., M.A.,Ph.D. (Linguistic for TESOL)
  ศ. (พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังษี อ.บ., M.A.,Ph.D. (Linguistic for TESOL)
  รศ.บุญเรือง อินทวรันต์ พธ.บ., กศ.บ.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ 

          งานวิจัยเรื่องบทบาทในการสอนกรรมฐานของสตรีในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ  คือ ๑) เพื่อศึกษากรรมฐาน และบทบาทในการสอนกรรมฐานของสตรีในสมัยพุทธกาล  ๒) เพื่อศึกษาบทบาทในการสอนกรรมฐานของสตรีในประเทศไทยปัจจุบัน และ ๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทในการสอนกรรมฐานของอาจารย์สตรีในสมัยพุทธกาลกับสมัยปัจจุบัน  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร คือ คัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา  เอกสาร ตำราวิชาการ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วประมวลข้อมูลโดยนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอสรุปการวิจัยด้วยวิธีนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 

๑)  อาจารย์สตรีในสมัยพุทธกาล ที่มีบทบาทในการสอนกรรมฐานเป็นที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและได้รับยกย่อง เป็นเอตทัคคะ มีกิตติคุณงดงาม ๔ ท่าน คือ (๑) พระเขมาเถรี  มีการสอนกรรมฐาน คือ ให้พิจารณาในขันธ์ ๕ ประการ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปรากฏในคำวิสัชนาปัญหาธรรมถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล และในคำแสดงธรรมโต้ตอบมาร  (๒) พระปฏาจาราเถรี  มีการสอนกรรมฐาน ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรก ท่านได้สอนแก่ภิกษุณี ๓๐ รูปที่มาปฏิบัติอยู่กับท่าน คือ สอนให้นำน้ำมาเป็นอารมณ์  ครั้งที่สอง ท่านได้สอนธรรมแก่ขอทานชื่อจันทา ให้รับกรรมฐานไปปฏิบัติจนได้บรรลุอรหัตผล  และครั้งที่สาม ท่านได้ให้โอวาทธรรมกรรมฐานแก่สตรี ๕๐๐ คน ทีละคน ที่สลดใจในการเสียชีวิตของบุตรเหมือนกัน  (๓) พระธรรมทินนาเถรี  สอนธรรมโดยได้แสดงเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕,  มรรคมีองค์    กับขันธ์  , สมาธิและสังขาร, สัญญาเวทยิตนิโรธ  และเวทนา    ประการ แก่วิสาขอุบาสกอดีตสามี   (๔) นางขุชชุตตราอุบาสิกา ได้แสดงธรรมที่ได้สดับมาจากพระพุทธเจ้า แก่พระนางสามาวดีพร้อมด้วยบริวารในตำหนัก ๕๐๐  คน  ให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล 

๒) อาจารย์สตรีในสังคมไทยปัจจุบันที่มีบทบาทในการสอนกรรมฐาน เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียง    ท่าน  คือ (๑) แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต  สอนกรรมฐานในแนวอานาปานสติ ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนด ขณะทำงานและในทุกกิจกรรมของชีวิตด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว  (๒) คุณรัญจวน อินทรกำแหง  สอนกรรมฐานในแนวอานาปานสติ ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดในทุกๆอิริยาบถ  (๓) ดร.สิริ กรินชัย  สอนกรรมฐานโดยวิธีเจริญสติปัฏฐาน ๔  ฝึกเดินสมาธิ หรือจงกรม เดินด้วยสติ มีสัมปชัญญะ นั่งสมาธิ สวดมนต์  (๔) ดร.ตรีธา เนียมขำ  สอนกรรมฐานตามแนววิชชาธรรมกายของพระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กำหนดนิมิตด้วยดวงแก้วใส โดยอาศัยฐานที่ ๗ เป็นฐานเสมอ  (๕) คุณสุจินต์ บริหารวนเขตต์   สอนกรรมฐานโดยการบรรยายพระอภิธรรมโดยยึดตามหลักธรรมในพระไตรปิฎกและอรรถกถาเป็นสำคัญ ทั้งได้ยกพระสูตรมากล่าวอ้าง เพื่อเพิ่มความสนใจให้ผู้ฟังได้ศึกษา สอบทาน เทียบเคียง

๓)  บทบาทการสอนกรรมฐานของสตรี ๒ ยุคนั้น มีทั้งความเหมือนกัน และความต่างกัน ทุกท่านเป็นพุทธสาวิกา ที่มีความสามารถ กล้าหาญ และมีศิลปะในการสอนกรรมฐานที่เป็นอัตลักษณ์ โดยยึดมหาสติปัฏฐานเป็นหลัก ส่วนในข้อต่างนั้น แต่ละท่านนั้นได้เน้นในองค์ธรรมและองค์ปฏิบัติที่ต่างกัน คือ พระปฏาจาราเถรี และ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต  ใช้สื่อเครื่องมืออุปกรณ์เป็นหลัก, คุณรัญจวน อินทรกำแหง และ ดร.สิริ กรินชัย ใช้อานาปานสติ และการให้เดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์เป็นหลัก, พระเขมาเถรี, พระธรรมทินนาเถรี, นางขุชชุตตราอุบาสิกา และคุณสุจินต์ บริหารวนเขตต์ ใช้วิธีการสนทนาธรรมในองค์พระกรรมฐาน  ส่วน ดร.ตรีธา เนียมขำ สอนกรรมฐาน คือ พุทธานุสสติและอาโลกกสิณ 

จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ศักยภาพของสตรีในการศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย สมควรที่ได้รับการส่งเสริมและให้ความสำคัญกับสตรีเข้ามามีบทบาทด้านการสอนพระกรรมฐาน อันเป็นเครื่องสะท้อนความมั่นคง ความผาสุกในสังคม และความเปิดกว้างทางศาสนา

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕