หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายณัฐพล แก้วขัน
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์การอภัยโทษในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : นายณัฐพล แก้วขัน ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร. โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ.๗, พธ.บ.(ปรัชญา), M.A.(Bud), พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                     

                      สารนิพนธ์เรื่อง  “การศึกษาวิเคราะห์การอภัยโทษในคัมภีร์พระพุทธศาสนา”  มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการอภัยโทษในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ศึกษาหลักธรรมและพระวินัยกับการอภัยโทษ และวิเคราะห์การอภัยโทษในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาจากเอกสาร หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษ               

                          ผลการศึกษาพบว่า  แนวคิดเกี่ยวกับการอภัยโทษในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าในหลักการที่สำคัญ  ๓ ประการ  คือ  ให้งดเว้นจากความชั่ว ให้ทำแต่ความดีและชำระจิตใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์  มีผลต่อการพัฒนาจิตใจ  เป็นจุดเริ่มใหม่ของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นการยุติผลกรรมข้ามภพข้ามชาติ และเป็นการสร้างมหากุศลที่เป็นมหาทาน

                   หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษ ในเบื้องต้นพระพุทธศาสนาสอนให้เรามีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบและยึดหลักธรรมที่สำคัญ  คือ  บุญกิริยาวัตถุ ๓ ศีล  ๕ มรรคมีองค์     สังคหวัตถุ     พรหมวิหาร  ๔และสาราณียธรรม ๖ เป็นแนวปฏิบัติ ส่วนบทบัญญัติพระวินัยซึ่งเป็นเสมือนกฎหมายควบคุมความประพฤติของพระสงฆ์ ช่วยให้พระสงฆ์อยู่ได้ในสังคมและปกป้องคุ้มครองสถาบันสงฆ์ การพิจารณาโทษตามพระวินัย จะมีวิธีการโดยเฉพาะเรียกว่าอธิกรณสมถวิธี ใช้แก้ปัญหาทั้งชนิดที่เกี่ยวกับการลงโทษและกิจที่ควรทำให้ลุล่วงไป มีความผิดบางประเภทที่ต้องลงโทษโดยเด็ดขาดและบางประเภทสามารถให้อภัยโทษได้  โดยผู้กระทำผิดต้องยอมรับความผิดที่ได้กระทำและปฏิบัติตามเงื่อนไขของที่ประชุมสงฆ์ก็จะพ้นผิดได้  การให้อภัยโทษก่อให้เกิดคุณค่าอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติธรรมของผู้บวช  ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบและต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา การอภัยโทษได้นำมาใช้ในทางปกครองของไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจแต่เพียงพระองค์เดียวในการพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องขังและได้มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานแล้ว เป็นหลักการที่สอดคล้องกับแนวคิดในพระพุทธศาสนา ดังนั้นในอนาคตภาครัฐควรมีการนำเอาการอภัยโทษในคัมภีร์พระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้มากขึ้นเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองในสังคมไทย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕