เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง |
การพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)) |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
องสรภาณอนัมพจน์ (พิสิษฐ์ เถี่ยนบ๊าว/ศรีวิชา) |
ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๖/๒๐๑๔ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ.ดร., ป.ธ.๙, M.A., Ph.D. |
|
พระมหาปราโมทย์ ปโมทโย, ป.ธ.๓, พธ.บ., M.A., Ph.D.. |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท. ดร. บรรจบ บรรณรุจิ, ป.ธ.๙, พธ.บ.,อ.ม., Ph.D. |
วันสำเร็จการศึกษา : |
2556 |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของพระสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อกระบวนการบริหารกิจการของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพ โดยศึกษา ภารงานของคณะสงฆ์ ๖ ด้าน ประกอบด้วย ๑) งานด้านการปกครอง๒) งานด้านศาสนศึกษา ๓) งานด้านการเผยแผ่ ๔) งานด้านศึกษาสงเคราะห์ ๕) งานด้านการสาธารณูปการ ๖) การบริหารงานด้านสาธารณสงเคราะห์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเริ่มจากการวิจัยเอกสาร ต่อด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการลงภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์ ด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อหาคำตอบที่ต้องการ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารและพัฒนาองค์กรคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธศาสนามหายานเรียกว่า “อาจริยวาท” ในยุคต้นๆ นับถือกันอยู่ในประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย เนปาล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกาย อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์และการสร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกให้เข้าสู่พระนิพพาน และแตกนิกายออกไปถึง ๔ นิกาย ได้แก่ ๑) นิกายศูนยวาทหรือ มาธยมิก ๒) นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ๓) นิกายจิตอมตวาท ๔) นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชรยาน และพุทธศาสนานิกายมหายานที่เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยนั้น ครั้งที่ ๑ ประมาณ พุทธศักราช ๖๒๐ ครั้งที่ ๒ พุทธศักราช ๑๓๐๐ ครั้งที่ ๓ ประมาณ พุทธศักราช ๑๖๐๐ ครั้งที่ ๔ พุทธศักราช ๑๘๐๐ ครั้งที่ ๕ สมัยกรุงศรีอยุธยา จากชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย ครั้งที่ ๖ สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีและต่อมาถึงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และได้รับการอุปถัมภ์จากทางราชการ พุทธศาสนานิกายมหายานได้เสื่อมไปจากประเทศไทยเมื่อ พุทธศตวรรษที่ ๑๙ แต่ความเชื่อถือบางอย่างอันเนื่องด้วยคติมหายานมิได้ศูนย์ไป ยังมีพิธีกรรมทางศาสนาคล้ายๆ จีน สืบเนื่องมาจากคณะสงฆ์ญวนหรืออนัมนิกายในประเทศไทยไม่สามารถติดต่อกับคณะสงฆ์ญวนในประเทศเวียดนามได้สะดวกนักเพราะมีอุปสรรค์ด้านการเมือง ส่งผลให้แบบแผนการปฏิบัติเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติ คลายความเคร่งครัดลงบ้างในบางอย่าง ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ที่คณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทยประพฤติปฏิบัติล้วนเป็นพิธีที่สืบเนื่องมาจากศาสนาฝ่ายมหายานที่มีอิทธิพลเหนือสยามประเทศมาก่อน ก่อนที่ประเทศไทยจะรับเอาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทเข้ามา ปัจจุบันพิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้เช่นพิธีกงเต๊กซึ่งนับเป็นพิธีที่มีความสำคัญและนิยมปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต โดยได้รับการยกย่องให้เป็นงานพิธีหลวงครั้งแรก ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งเป็นพระราชชนนีในรัชกาลที่ ๕ และได้สืบต่อเป็นประเพณีปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อกระบวนการบริหารกิจการของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทยพบว่า การปกครองคณะสงฆ์อนัมนิกายหรือพระญวนมีสถานะเป็นองค์กรทางศาสนาเทียบเท่ากับมหาเถรสมาคม ภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช โดยแบ่งการบริหารจัดการเป็น ๖ ด้าน ปัญหาและอุปสรรคของคณะสงฆ์อนัมนิกาย ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรและศาสนทายาทในการเผยแผ่ การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม การบริหารกิจการด้านการปกครอง เป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาองค์กรของคณะสงฆ์อนัมนิกายในภาพรวม คือ การขาดศาสนทายาทเพราะการลดลงของศาสนทายาท ไม่มีมาตรการแผนการ และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่รัดกุมและสอดคล้องกับสภาพสังคม ในระยะยาว รูปแบบการบริหารคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพในภาพรวม พบว่า ต้องมีรูปแบบที่ชัดเจนและเป็นสากล ประกอบด้วย ๑) ต้องมีการคิดค้นและกำหนดวิธีที่ดีที่สุด (One Best Way) สำหรับงานแต่ละอย่าง ๒) ต้องมีการคัดเลือกและพัฒนาคนอย่างเป็นระบบ ๓) ต้องมีวิธีการพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับวิธีการทำงาน ๔) การประสานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาทุกๆ ภาระงาน
ดาวน์โหลด |
|
|