หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวอรทัย มีแสง
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
ทฤษฎีบูรณาการเชิงพุทธ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา))
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวอรทัย มีแสง ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๗/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ สิริญาโณ/มาลัย), ผศ. ดร. ป.ธ.๙, M.A., Ph.D. ศ. ดร.
  ศ. ดร. สมภาร พรมทา ป.ธ.๘, อ.ม., อ.ด. (ปรัชญา)
  พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ สิริญาโณ/มาลัย), ผศ. ดร. ป.ธ.๙, M.A., Ph.D. ศ. ดร.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาทฤษฎีบูรณาการของเคน วิลเบอร์ (๒) เพื่อวิพากษ์แนวคิดทางพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏในทฤษฎีบูรณาการของเคน วิลเบอร์ และ (๓) เพื่อนาเสนอทฤษฎีบูรณาการเชิงพุทธเพื่อการพัฒนาจิตและสังคม
 ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีบูรณาการเป็นทฤษฎีใหญ่ ครอบคลุมทุกองค์ประกอบ และทุกศาสตร์เข้าด้วยกัน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า มณฑลทัศน์ ๔ ด้าน หรืออะ-คว่า เมื่อมณฑลทัศน์ที่ ๑ คือ ด้านฉันหรือเจตนา มณฑลทัศน์ที่ ๒ คือ ด้านพฤติกรรมหรือสิ่งที่ปรากฏภายนอก หรือกายภาพ มณฑลทัศน์ที่ ๓ คือ ด้านวัฒนธรรม และประเพณี และมณฑลทัศน์ที่ ๔ คือ ด้านสังคม นิเวศวิทยา จนถึงจักรวาลวิทยา แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลจากศาสตร์หลายสาขา ทั้งอิทธิพลของปรัชญาและศาสนาด้านตะวันออกและตะวันตก เช่น พุทธศาสนามหายาน วัชรยาน เซน เวทานตะ ฮินดู เป็นต้น รวมถึงทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของฌอง เพียเจต์ ทฤษฎีลาดับขั้นของความต้องการของมาสโลว์ แนวคิดเชิงโครงสร้างนิยม แนวคิดหลังสมัยใหม่ และทฤษฎีเกลียวพลวัตด้วย
 โฮลอนคือหน่วยที่ใช้วิเคราะห์และอธิบายความจริงที่เกิดขึ้นในทุกสรรพสิ่ง โฮลอน ไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่วิธีการ แต่เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง โฮลอนเป็นทั้งส่วนรวมและส่วนย่อย ซึ่งเกิดจากการก้าวข้ามและหลอมรวม โฮลอนจะปรากฏอยู่ในทุกที่ กระจายไปทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม การเกิดของโฮลอนจะเป็นระบบและเป็นระดับขั้น และสรรพสิ่งก็เกิดเป็นระบบและลาดับขั้นเช่นเดียวกัน
 จิตในทัศนะของเคน วิลเบอร์และของพุทธศาสนาต่างกัน จิตของเคน วิลเบอร์ เป็น นิรันดร์ เกิดแต่ไม่ดับ ในขณะที่จิตของพุทธศาสนา เกิดและดับ จิตของมนุษย์ก็คือโฮลอนอย่างหนึ่ง
คุณลักษณะบางประการของโฮลอนมีทั้งความเหมือนและความต่างกับจิตในพุทธศาสนาเถรวาท อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องอัตตา อนัตตา นิพพาน และการตรัสรู้ มีความแตกต่างหรือคลาดเคลื่อนกับพุทธศาสนาเถรวาท
 เคน วิลเบอร์ ได้นาเสนอการฝึกปฏิบัติตามแนวทฤษฎีของตนเองเรียกว่า การพัฒนาจิตปัญญาอย่างบูรณาการ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยทาให้ศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในมนุษย์มีการเติบโตและพัฒนาได้เต็มรูปแบบ การพัฒนาจิตปัญญาอย่างบูรณาการมีทั้งหมด ๙ ด้าน คือ แกนหลักของการพัฒนาอยู่ ๔ ด้าน และมีด้านเสริมอยู่ ๕ ด้าน การฝึกปฏิบัติในหัวข้อหลัก มีความสอดคล้องกับภาคปฏิบัติของไตรสิกขาในพุทธศาสนาเถรวาทด้วย
 ผู้วิจัยได้สังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า ทฤษฎีบูรณาการเชิงพุทธ ทั้งส่วนที่เป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ภาคทฤษฎีจะได้ประยุกต์หลักธรรมจากพุทธศาสนาเรื่องนิยาม ๕ และหลักอิทัปปัจจยตา ได้แนวคิดใน ๓ มิติ คือมิติของปัจเจก มิติของสังคม และมิติของความสัมพันธ์ที่อิงอาศัยกัน สาหรับภาคปฏิบัติ ได้ประยุกต์ทฤษฎีบูรณาการกับหลักคาสอนในพุทธศาสนาเถรวาท เช่น จิตวิทยาเชิงพุทธบูรณาการ ได้นาเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องเงาหรือสิ่งที่ซ่อนเร้นในใจ โดยใช้หลักธรรมเรื่องสัมมาทิฏฐิ และพรหมวิหาร ๔ เป็นต้น พฤติกรรมเชิงพุทธบูรณาการเสนอการปรับปรุงพฤติกรรมด้วยกรอบแนวคิด ๓ ประการ คือ ศีล จริต ๖ และเสขิยวัตร วัฒนธรรมเชิงพุทธบูรณาการ ได้ประยุกต์หลักคาสอนเรื่องสัปปุริสธรรม ๗ และสังคมเชิงพุทธบูรณาการ นาเสนอในเรื่องมิติของจิตสานึกเพื่อสังคม หรือจิตวิวัฒน์เพื่อสังคม ด้วยจิตวิญญาณบูรณาการ อิทัปปัจจยตา และอัปปมัญญา ๔ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้เสนอการพัฒนาจิตและสังคมด้วยไตรสิกขาโดยใช้กรอบทฤษฎีบูรณาการด้วย
 ทฤษฎีบูรณาการเชิงพุทธ เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนาไปพัฒนาตนเองและสังคม เช่น การส่งเสริมให้เยาวชนทากิจกรรมเพื่อสังคม หรือการส่งเสริมความรู้เรื่องความสัมพันธ์ที่อิงอาศัยเพื่อให้เกิดจิตสานึกเพื่อส่วนรวม เป็นต้น การพัฒนาตนเองจะทาให้เกิดความสุข ความสงบ และสามารถพัฒนาตนเองสู่ขั้นสูงสุดคือการหลุดพ้นได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนาไปพัฒนาเพื่อความสงบสุขของสังคมได้อีกด้วย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕