หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระณัฐสิทธิชาญ สหธมฺโม (ณินทเศรษฐ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
การศึกษาติรัจฉานวิชาในมุมมองของพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระณัฐสิทธิชาญ สหธมฺโม (ณินทเศรษฐ์) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๘/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

               วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาติรัจฉานวิชาในมุมมองของพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของติรัจฉานวิชาในสังคมไทย และ (๓) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติตนตามหลักธรรมในการหลุดพ้นจากติรัจฉานวิชา ผลการวิจัยพบว่า

              การศึกษาติรัจฉานวิชาในมุมมองของพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า นิยามและความหมาย             ของคำว่าติรัจฉานวิชา  คือ ความรู้ที่ขวาง ต่อการบรรลุมรรคผลและพระนิพพาน เพราะเป็นวิชาที่ทำให้หมกมุ่น เพลิดเพลิน ยึดติด ไม่ประกอบภารกิจหน้าที่อันพึงกระทำตามพระธรรมวินัย ปัจจุบันติรัจฉานวิชามีอยู่อย่างกระจัดกระจาย  มุมมองของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับติรัจฉานวิชา ๔ ประการ คือ (๑) มุมมองเกี่ยวกับวิชาการดูดวง ดูฤกษ์  ดูยาม (๒)  มุมมองว่าด้วยวิชาโหราศาสตร์ (๓)  มุมมองว่าด้วยวิชาปลุกเสกเครื่องรางของขลัง (๔)  มุมมองว่าด้วยการเข้าองค์ ทรงเจ้า  ด้านการคงอยู่ของติรัจฉานวิชายังมีในปัจจุบัน  เพราะยังมีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับติรัจฉานวิชาซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับประโยชน์ที่เป็นแรงจูงใจให้มนุษย์หันหน้าเข้าสู่พระพุทธศาสนา ส่วนโทษของติรัจฉานวิชาทำให้บุคคลหลงงมงาย ห่างไกลจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นตัวขัดขวางไม่ให้บรรลุมรรคผล

              สภาพการณ์และปัญหาของติรัจฉานวิชาในสังคมไทย พบว่า ติรัจฉานวิชาเกิดขึ้นเพราะอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่นับถือเทพเจ้าความเป็นมาของติรัจฉานวิชาในสังคมไทยมีมาก่อนพระพุทธศาสนาจะเข้ามา         สภาพการณ์ของติรัจฉานวิชาขณะนั้นส่งผลให้บุคคลพึ่งคุณไสยจึงก่อให้ปัญหา คือ (๑) สังคมเกิดความขัดแย้ง (๒) สังคมมีความเชื่อที่ผิด (๓) สังคมเกิดความลุ่มหลงสิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในสังคมปัจจุบัน

              วิธีปฏิบัติตนตามหลักธรรมที่ทำให้หลุดพ้นจากติรัจฉานวิชา พบว่า วิธีการปฏิบัติตนในเบื้องต้น เป็นการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ๓ ได้แก่  ศีล  สมาธิ และปัญญา เพราะหลักไตรสิกขาเป็นหลักธรรมที่สำคัญในการกำจัดความโลภ โกรธ หลง และสามารถแก้ไขสภาพและปัญหาความเชื่อ การดูฤกษ์  ดูยาม             ดูดวง เครื่องรางของขลัง  เป็นต้น เพราะหลักธรรมไตรสิกขาสามารถพัฒนาจิตใจไม่ให้เกิดความงมงายได้ และพัฒนาตนไปสู่อริยมรรคตั้งแต่ความเห็นชอบ การเลี้ยงชีพชอบ เป็นต้น จะช่วยลด  ละ เลิกต่อ  ติรัจฉานวิชาได้ในที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕