หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพิเชษฐ์ อคฺคธมฺโม (น้อยเพิ่มพูล)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง
ประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพิเชษฐ์ อคฺคธมฺโม (น้อยเพิ่มพูล) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร ตามความคิดเห็นของพระภิกษุ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดสมุทรสาคร ๒๖๕ รูป โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๒๐ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าเอฟ (F-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และวิเคราะห์ผลจากการสัมภาษณ์ตามสาระสำคัญของประเด็น จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท (Context Content analysis Technique)

ผลการศึกษาพบว่า

พระภิกษุผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดต่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x = ๓.๙๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พระภิกษุผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดต่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มากที่สุด คือ ด้านการปกครอง (x = ๔.๐๔), รองลงมา คือ ด้านการสาธารณูปการ (x = ๔.๐๓),และสุดท้ายด้านการศึกษาสงเคราะห์ (x = .๘๑)

                การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร ตามความคิดเห็นของพระภิกษุ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า

พระภิกษุผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกันตาม อายุ จำนวนพรรษา และตำแหน่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันตาม วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม และ วุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

               ผลการศึกษาปัญหา ประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ด้านการปกครอง ได้แก่ การไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าอาวาส ด้านการศาสนศึกษา ได้แก่ ขาดงบประมาณในการดำเนินการ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสั่งสอน ด้านการเผยแผ่ ได้แก่ ขาดบุคลากรในการเผยแผ่ธรรม ด้านการสาธารณูปการ ได้แก่ ขาดปัจจัยในการทำนุบำรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ได้แก่ ปัญหาเรื่องยาเสพติดที่เข้ามาในคณะสงฆ์ และเยาวชนในจังหวัด

               สรุปจากการสัมภาษณ์ ทำให้เห็นภาพรวมของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ว่าอาจจะมีปัญหาบ้างแต่สามารถพูดคุยกันได้เพราะเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดี เพราะได้มีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบดูและทำตามนโยบายของเจ้าคณะจังหวัดจึงทำให้การบริหารงานของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสาครค่อนข้างมีประสิทธิภาพมาก

               ข้อเสนอแนะ ด้านการปกครอง ได้แก่ ผู้นำต้องมีความเด็ดขาด ชัดเจน ด้านการศาสนศึกษาของบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐดูบ้างด้านการศึกษาสงเคราะห์ ส่งเข้าฝึกอบรมความรู้เพื่อที่จะนำความรู้นั้นมาใช้ในการสั่งสอนเยาวชนในเขตการดูแล ด้านการเผยแผ่ จัดหาและจัดส่งไปอบรมผู้ที่มีจิตใจรักในการเผยแผ่ธรรม ด้านการสาธารณูปการ สร้างศรัทธาจากในหลายๆพื้นที่เพื่อการหางบประมาณปัจจัยมาทำการทำนุบำรุงด้านการสาธารณสงเคราะห์ จัดหาสถานที่ให้การอบรมเรื่องโทษของยาเสพติด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕