หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดวรัญญู อคฺควชิโร (ยอดเพ็ชร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๐ ครั้ง
การพัฒนาการบริหารจัดการวัดใหเปนศูนย์กลางชุมชนในยุคโลกาภิวัตน (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ))
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดวรัญญู อคฺควชิโร (ยอดเพ็ชร) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อภินันท จันตะนี
  สุภกิจ โสทัด
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ
 การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์” มีวัตถุประสงค์การวิจัย ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนต้นแบบ ๒) เพื่อศึกษาหลักการ วิธีการและแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์ และ ๓) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และนำเสนอนวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่การพัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนในยุค โลกาภิวัตน์ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการวิจัยนี้เป็นการศึกษาในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) รวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และจากกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามและแบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติ วิเคราะหาข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์ความแปรผัน
ผลการวิจัยพบว่า
๑) สภาพปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนต้นแบบ พบว่าด้านบุคลากร อดีตเจ้าอาวาสเป็นผู้นำเชิงปัจเจกชนสั่งการเพียงรูปเดียวและมีภาวะผู้นำสูง สร้างอัตลักษณ์ให้กับวัดโดยดำเนินโครงการตามทักษะความสามารถเพียงด้านเดียวจนปรากฏผลชัดเจน เจ้าอาวาสรูปใหม่ซึ่งบริหารจัดการวัดต่อมาไม่สามารถสืบสานอัตลักษณ์เดิมไว้ได้ และพระภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ขาดระเบียบวินัยของพระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งการขาดแคลนศาสนทายาทสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและกิจการคณะสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์ขาดทักษะการศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ดำเนินการอย่างตั้งรับ ด้านการร่วมรับผิดชอบต่อชุมชน ขาดการประสานความเข้าใจสำหรับแต่ละโครงการที่วัดดำเนินการ
๒) หลักการบริหารตามแนวพุทธศาสนาสามารถสรุปลงได้ ๓ ประการ คือ หลักการครองตนครองคน และครองงาน รวมทั้งหลักพระวินัยช่วยให้การบริหารวัดดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยดีงามและควรส่งเสริมอาคาริยวินัย กรอบควบคุมวิถีชีวิต แนวทางประพฤติปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ให้เกิดขึ้นในชุมชน และทฤษฎีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการบริหารจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์คือทฤษฎี POLC ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองคการ การชี้นำจูงใจ และการควบคุม สำหรับวิธีการและแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์ประกอบด้วย การทบทวนพันธกิจ การวางแผน การดำเนินการพัฒนา การติดตามและการประเมินผล
๓) ความเป็นไปได้ในการพัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์ต้องอาศัยองค์ประกอบ ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐกิจ ด้านบุคลากร ด้านเทคนิค ด้านสังคม และด้านประชากรชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา สำหรับแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็น
ศูนย์กลางชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วยรูปแบบ GT Model ที่เกื้อกูลกัน ๕ ส่วน ประกอบด้วย
๑) ขยับปัญญาก่อนจึงย้อนเขยื้อนกาย คือ การสำรวจรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูล เพื่อประเมินสภาพของวัดและชุมชนก่อนเลือกแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม ๒) ยิ่งให้ยิ่งได้ คือ การประกาศเจตนารมณ์ของวัดที่จะดำเนินการ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน ๓) ฝนตกใส่ตุ่ม คือ การสำรวจความรู้พื้นฐานของชุมชน การจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดเก็บบันทึกความรู้นั้นจัดตั้งแหล่งเรียนรู้หรือพิพิธภัณฑ์ ๔) กลุ่มลยาณมิตรคิดถูก คือ การสร้างภาคีเครือข่าย ในการทำงานให้เหมาะสมและเอื้อประโยชน์ต่อกันระหว่างวัดกับชุมชน และระหว่างวัดกับองค์การต่างๆ ๕) ต้องสุขก่อนจึงสำเร็จ คือการส่งเสริมพฤติกรรมทางด้านจิตใจให้บุคคลมีปัญญา คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ไม่เสพบริโภควัตถุเกินสมควร และมีความภาคภูมิใจในพื้นฐานความเป็นมาของชุมชนตนเอง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕