หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภาส ภาสสัทธา
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการด้านความโปร่งใสขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : ภาส ภาสสัทธา ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษา การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และอุปสรรคในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านความโปร่งใส ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านความโปร่งใสตามหลักพุทธธรรม                และ ๓) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการด้านความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผลการวิจัยพบว่า

๑. สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านความโปร่งใส ด้านการนำหลักนิติธรรมมาปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน ประกอบด้วย         ๓ ประเด็นสำคัญ คือ ๑) กฎเกณฑ์ ๒) ระเบียบ ๓) กฎหมาย ในการบริหารงานและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารงานและบุคลากร ด้านการนำการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน ประกอบด้วย ๓ ประเด็นสำคัญ คือ  ๑) ร่วมคิด ๒) ร่วมทำ ๓) ร่วมตรวจสอบ  ในการบริหารงานและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากร  ด้านการนำความรับผิดชอบมาปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน  ประกอบด้วย ๓ ประเด็นสำคัญ คือ ๑) ความรับผิดชอบต่อตนเอง ๒) ความรับผิดชอบต่อชุมชนท้องถิ่น ๓) ความรับผิดชอบต่อสังคม ในการบริหารงานและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากร ๒. ด้านการนำหลัก หิริ โอตตัปปะ กับหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน คือ ๑) ความละอายต่อการกระทำสิ่งผิด ๒) ความเกรงกลัวต่อการกระทำผิด ในการนำหลักธรรม อปริหานิยธรรม ๗ กับหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน คือ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒) พร้อมเพรียงกันประชุม          พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ ๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ ๔) ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชุมชน (ชาววัชชี) เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง ๕) บรรดากุลสตรี กุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ     ๖) เคารพสักการบูชาเจดีย์ ๗) จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อให้เกิดแนวทางอันดีงาม ในการบริหารงานและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากร และในด้านการนำหลักพุทธธรรมบูรณาการกับหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน ตามหลักพุทธธรรม มีหลักพุทธธรรมที่มีความเหมาะสมและครอบคลุมในการนำมาบริหารทั้งในระดับบุคคล ด้วยการนำหลักโลกบาลธรรมอันเป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องเตือนตนเองให้คิดดี ปฏิบัติดี และการนำหลักอปริหานิยธรรม ๗ อันเป็นการหลักธรรมในการทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคีเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเมื่อมีการนำมาบูรณาการกับธรรมาภิบาล ด้วยหลักนิติธรรม หลักการมีส่วนร่วม และหลักความรับผิดชอบ เพื่อสร้างความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ๓. การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการด้านความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนำหลักพุทธธรรมบูรณาการร่วมกับหลักธรรมาภิบาลทำให้ได้รูปแบบในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓ รูปแบบหลัก ประกอบด้วย รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อความโปร่งใส ในงานบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านนิติธรรม ด้านการมีส่วนร่วม     ในด้านความรับผิดชอบ รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อความโปร่งใสในงานบริการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านนิติธรรม ในด้านการมีส่วนร่วม  ในด้านความรับผิดชอบ และรูปแบบการ  บูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อความโปร่งใสในงานสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านนิติธรรม     ในด้านการ  มีส่วนร่วมในด้านความรับผิดชอบ โดยนำรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมและ        หลักธรรมาภิบาลในงานบริหาร บริการ และงานสนับสนุนเพื่อความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การบูรณาการครบถ้วน และมีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหาร และบุคลากร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ดาวน์โหลด    

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕