หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุนทรสุตสาร (พยุง กตปุญฺโญ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุนทรสุตสาร (พยุง กตปุญฺโญ) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิเชฐ ทั่งโต
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              การศึกษาวิจัยเรื่อง “การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ๒) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบ การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ

              การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๑๒ รูป เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง แบบตัวต่อตัว และการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ส่วนในการวิจัยเขิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ๑๔๗ รูปที่เป็นพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรปราการ โดยแบบสอบถามที่มีทั้งปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

                  

ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ปัญหาอุปสรรคการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ห้องเรียนไม่เป็นส่วนตัว วัดมีกิจกรรมมากเกินไป กิจกรรมของวัดไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ขาดนักเรียนและครูสอน ไม่มีสวัสดิการที่เหมาะสม และขาดงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นต่อการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง

              ๒. แนวทางการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ พระสังฆาธิการมีการวางแผนการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมถูกต้องตามกฎระเบียบของมหาเถรสมาคม และมีการประเมินผลการวางแผนการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสม มีการจัดอบรมสัมมนาแก่บุคลากรที่วัดหรือโรงเรียนพระปริยัติธรรม เน้นการปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพุทธบูชา มีการกำกับบุคลากรให้ปฏิบัติงานถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎระเบียบของสำนักปฏิบัติธรรม พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นต่อการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักอิทธิบาท ๔ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

              ๓. รูปแบบการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่

                   ๓.๑ การวางแผนตามหลักอิทธิบาท ๔: พระสังฆาธิการมีความพอใจในการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมวางแผน ไม่ละเลยทิ้งวัสดุอุปกรณ์การดำเนินงานด้วยการกำหนดแบบแปลน รูปทรงลักษณะ หลักเกณฑ์การจัดการสำนักปฏิบัติธรรม รับผิดชอบงานอยากทำงานการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมก่อสร้างหรือการบูรณปฏิสังขรณ์ ด้วยความขยันทำงานตามเวลา มีการจูงใจ มีวิสัยทัศน์หัวหน้าทีมงานเป็นผู้ประสานงานในการจัดการสำนักปฏิบัติธรรม โดยมีเกณฑ์ที่สามารถตรวจสอบได้ ตริตรองพัฒนาการจัดการสำนักปฏิบัติธรรม อย่างรอบครอบ

                   ๓.๒ การจัดองค์การตามหลักอิทธิบาท ๔: การกำหนดการจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ความพร้อมของวัด ศาสนสถาน จัดกำลังคนและจัดเตรียมทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำเนินการก่อสร้าง การจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ด้วยการศึกษาศาสตร์และศิลป์ จัดการก่อสร้างและการการจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ทั้งรูปทรงแบบเก่าและรูปทรงแบบประยุกต์ขึ้นมาใหม่ ทุนทรัพย์ในการสนับสนุนแก่ผู้มาทำงานในสำนักปฏิบัติธรรมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ

                   ๓.๓ การบริหารบุคคลตามหลักอิทธิบาท ๔: ได้ศึกษาข้อมูล วิธีการ ความต้องการของบุคลากร การจัดการสำนักปฏิบัติธรรม และการบูรณปฏิสังขรณ์วัดด้วยความพึงพอใจ วิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการการจัดการสำนักปฏิบัติธรรม วัดตามงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หัวหน้าทีมงานเข้าใจกลยุทธ์ในการดำเนินการ และดูแลงานการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของวัดเพื่อให้การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมดำเนินการก่อสร้างหรือการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบรรลุผล เช่น จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปัญหาอุปสรรค

                   ๓.๔ การอำนวยการตามหลักอิทธิบาท ๔: กำหนดขั้นตอนวิธีการ การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมและระยะเวลา จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นทั้งในด้านบุคคลเครื่องมืองบประมาณ การสื่อสารกับผู้บริหารทุกระดับเพื่อให้ทราบกฎระเบียบการการจัดการสำนักปฏิบัติธรรม หรือการบูรณปฏิสังขรณ์วัด รับรู้ผลของการตรวจสอบการดำเนินการการจัดการสำนักปฏิบัติธรรม และการบูรณปฏิสังขรณ์วัด มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมวัด เป็นผู้ทำหน้าที่ในการปรับงานให้มีความเหมาะสมกับวิธีการจัดการสำนักปฏิบัติธรรม

                   ๓.๕ การควบคุมตามหลักอิทธิบาท ๔: การจัดการสำนักปฏิบัติธรรม เช่น ประเมินจากผู้สนับสนุน จากการติชมของผู้เกี่ยวข้อง การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมมีการควบคุม การวางแผน จัดองค์การ บริหาร อำนวยการ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับทีมงาน เพื่อการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด พระสังฆาธิการเข้าใจภาระหน้าที่ของตนที่จะต้องดำเนินการ การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมวัดให้มีความเหมาะสม ดูแลภาระหน้าที่ที่ตนได้รับผิดชอบอย่างรอบครอบต่อการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมวัด

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕