หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุรภาส ปภาโต (เหล่าเขตกิจ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
ภาวะผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระสุรภาส ปภาโต (เหล่าเขตกิจ) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อภิชญาณัฐโศภา อบสิน
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

                                  บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) ๒) เพื่อศึกษารูปแบบภาวะผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) ๓) เพื่อนำเสนอภาวะผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) แบบมีแนวคำถาม (Guideline) ไว้ล่วงหน้าจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ๑๕ รูป/คน ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentery Research)


ผลการวิจัยพบว่า

๑) พระธรรมสิงหบุราจารย์มีภาวะผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และสร้างแรงบันดาลใจให้แกผู้ตามสามารถใช้วิสัยทัศน์ให้เกิดความชัดเจนไปสูการ ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ตามเหล่านั้นสามารถทำงานให้บรรลุผลดียิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญแกผู้อื่นมากกว่า ตนเอง วางตนไดเหมาะสมจนเป็นที่ไววางใจแกผู้อื่น ช่วยเสริมสร้างจุดแข็งและลดจุดอ่อนของผู้ตาม และเป็นผู้ที่สามารถสร้างความเข้าใจไดในแต่ละประเด็น ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การ แนวคิดนี้จึงย้ำถึงความจำเป็นที่ผู้นำจะต้องมีความเข้าใจ และสามารถปรับตัวให้สอดคลองกับความ ตองการและแรงจูงใจของผู้ตาม ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแกผู้อื่น ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปจึงมีอิทธิพล ต่อความสำเร็จขององค์การในยุคโลกาภิวัตน์นี้ สวนภาวะผู้นำตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่า ภาวะผู้นำเป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้นำและผู้บริหารทุกระดับ และการที่จะทำให้ ตนเองเป็นผู้นำที่มีความสามารถก็จะต้องสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นแกตัวเอง อีกทั้งนิยามหรือ ความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำมีอีกมากมายและแตกต่างกันไปตามทัศนะของนักวิชาการแต่ละท่าน ซึ่งลักษณะของผู้นำในพระพุทธศาสนานั้น มีอยู่ ๒ ลักษณะด้วยกัน คือ ลักษณะของธรรมราชา และลักษณะของเทวราชา  

๒) รูปแบบภาวะผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมสิงหบุราจารย์     (จรัญ ฐิตธมฺโม) ๑. สันทัสนา สอนให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เห็นความเป็นจริง ชนิดที่เข้าถึงเนื้อหาอย่างแท้จริงการสอนตามวิธีนี้ผู้สอนต้องเข้าใจวิธีใช้วาทศิลป์ อธิบายสิ่งที่ยากให้ง่าย โดยวิธีอุปมาอุปมัยเพราะบางสิ่งบางอย่างหากไม่ได้เปรียบเทียบ ผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจได้ โดยเฉพาะที่เป็นวิชานามธรรมด้วยเหตุนี้บ่อยครั้งที่พระพุทธองค์ใช้วิธีบุคลาธิษฐาน (Personification) มีอยู่บ่อยครั้ง ที่เราไม่อาจอธิบายนามธรรมให้เข้าใจได้ เช่น อธิบายเรื่อง ความเค็ม เราไม่อาจอธิบายใช้คำพูดที่เข้าใจได้จนกว่าจะนำเกลือมาใส่ปาก เขาจึงรู้ว่า รสเค็ม เป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงเรียกว่า ปัจจัตตังคือ รู้ได้เฉพาะตน มีเหตุและ ผลในตัว ๒. สมาทปนา สอนให้ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเกิดความเห็นคล้อยตาม คือ มีความเข้าใจ อย่างแจ่มแจ้งและเกิดความเห็นคล้อยตาม ตามที่ผู้สอนอธิบาย เช่น ในการสอนเรื่องความดี กฎแห่งกรรม ผู้ฟังจะเกิดความเห็นคล้อยตามประหนึ่งว่าถูกชักชวนให้มีการปฏิบัติตามที่ผู้สอนต้องการ . สมุตเตชนา สอนให้เกิดความกล้า และความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหรือลงมือกระทำอย่างจริงจัง ตรงข้ามกับ ยิ่งสอนยิ่งเกิดความเบื่อหน่าย ไม่ยากเรียน วิธีสอนแบบนี้ เป็นวิธีการเร่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดความหวัง มีกำลังใจ และความอุตสาหะในการประพฤติ ปฏิบัติตามเพราะเขากำลังเห็นผลรอคอยอยู่ข้างหน้า ๔. สัมปหังสนา สอนให้ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือผู้ฟังเกิดความสนุกสนาน ร่าเริง สดใส มีความอยากรู้อยากเห็น อยากปฏิบัติทดลอง เพิ่มความยินดี วิธีการสอนแบบนี้เป็นวิธี ดึงใจผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและผู้ฟังได้ดียิ่งขึ้นกำจัดความเบื่อหน่าย เพราะจิตของผู้ปฏิบัติและผู้ฟังมีความสนุกสนานเพียบด้วย ความร่าเริงสดใส ในขณะได้เรียนมีศิลปะในการใช้มือช่วย หรือ อุปกรณ์ประกอบการแสดง ด้วยวิธีวาทศิลป์ เป็นการเสริม บุคลิกภาพเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจแจ่มแจ้ง ทะลุปุโปร่ง ไม่สงสัย

๓) นำเสนอภาวะผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ พระธรรมสิงหบุราจารย์   (จรัญ ฐิตธมฺโม) ได้ยึดหลักการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม หรือเรียก ว่าการสอนตามแนวทางของวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดการกำหนดในอิริยาบถต่างๆ มี การยืน การเดิน การนั่ง และการนอนพร้อมทั้งอิริยาบถย่อย ต่างๆ อีกมากมาย ก็เป็นไปตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ได้ใช้เทคนิคและรูปแบบภาวะผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยยึดหลักคำสอนจากพระไตรปิฎกและการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ โดยมีลักษณะเฉพาะในอิริยาบถยืน คือให้ผู้ปฏิบัติกำหนดอิริยาบถยืน โดยบริกรรมว่า “ยืนหนอ ๆ ๆ” ๕ ครั้ง กำหนดเป็นอนุโลม ปฏิโลม (กลับไป กลับมา) จากบน (ศีรษะ) ลงล่าง (เท้า) และจากล่างขึ้นบนสลับกัน ๕ ครั้งจึงก้าวเดิน ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการสอนวิปัสสนากรรมฐานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสำนักวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕