หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วรรณสัน นวลงาม
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
พุทธบูรณาการกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : วรรณสัน นวลงาม ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูนิวิฐศีลขันธ์
  อภิชญาณัฐโศภา อบสิน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาพุทธบูรณาการกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นพุทธบูรณาการกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อพุทธบูรณาการกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

              ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมาจากบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๑๔๕ คน จากทั้งหมดจำนวน ๒๒๖ คน โดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ      (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑. พบว่าพุทธบูรณาการกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= ๔.๐๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านศีล (การพัฒนาพฤติกรรมทางกาย วาจาและใจ) (= ๔.๐๗) ด้านสมาธิ (การพัฒนาจิตใจ)    (= ๔.๐๘) และด้านปัญญา (การพัฒนาความรู้,และความสามารถ) (= ๔.๑๒)

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อพุทธบูรณาการกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศอายุ การศึกษา ประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน โดยภาพรวมแล้วไม่ต่างกันจึงปฎิเสธสมมติฐาน ในส่วนของด้านตำแหน่งและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐาน

๓. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรบุคลากรไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานอย่างเต็มที่ ไม่มีความวิริยะอุตสาหะในกิจกรรมต่างๆ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ ไม่มีการพัฒนาให้บุคลากรให้มีความรู้ความสามรถที่สูงยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานอย่างเต็มที่ ควรส่งเสริมให้บุคลากรที่มีความรู้สามารถและปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดและรอบคอบ รวมถึงให้มีการเสริมสร้างสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร และส่งเสริมความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพให้กับบุคลากรให้รู้เท่าทันสภาพปัจจุบัน และสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการศึกษาเพื่อส่งเสริมวิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์กรและท้องถิ่น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕