หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม (ปวงกลาง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๔๒ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อกฎแห่งกรรมตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม (ปวงกลาง) ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                      สารนิพนธ์เรื่อง  “ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อกฎแห่งกรรม   ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท”  มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษากฎแห่งกรรม  และการให้ผลของกรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความหมาย ประเภท  และความเชื่อกฎแห่งกรรม  ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  เป็นการศึกษาจากหนังสือ ตำรา  เอกสาวิชาการทางพระพุทธศาสนา  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาเขียนเป็นรายงานการวิจัย

 

      ผลการศึกษาพบว่า  กฎแห่งกรรม  คือ  การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา   ที่ทำให้เกิดผล

 

ของการกระทำนั้นๆ คำว่ากฎแห่งกรรมจึงเป็นคำกลางๆ  ที่ไม่ดีหรือชั่วในตัวเอง กรรมบางอย่างให้ผลในปัจจุบัน บางอย่างรอให้ผลเมื่อมีเหตุปัจจัยที่เพียงพอ  ในทางพระพุทธศาสนาสามารถสงบระงับและดับได้   โดยการฝึกฝนอบรมตนในแนวทางไตรสิกขา คือ ศีล  สมาธิ  และปัญญา มนุษย์ทุกคนจึงควรตระหนักรู้  และขวนขวายหมั่นทำความดีทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ  เป็นผู้ละอายชั่วเกรงกลัวต่อบาป  ให้ตั้งกุศลจิตในกรรมดีอยู่เป็นนิจ  กรรมจึงเป็นประดุจเงาติดตามตัวบุคคล อย่างไม่มีที่สิ้นสุด    เพราะกรรมนั้นล้วนส่งเป็นวิบากอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา

 

           ส่วนกฎแห่งกรรมตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท    เป็นกระบวนการของการดำเนินชีวิต    มีความคิดดี   ความปรารถนาดี  ก็เกิดความถูกต้องตามไปด้วย  อันเป็นเหตุให้วิถีชีวิตดำเนินไปตามทางสายกลางหรือมรรคมีองค์  ๘ ซึ่งเป็นทางดับทุกข์  วิธีการสร้างความเชื่อในกฎแห่งกรรมตามหลักสัมมาทิฏฐิ มี   ๒  ประการ  คือ  ๑. ปรโตโฆสะ   ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก    เช่น    การคบหากัลยาณมิตรคนดี  คนมีศีลธรรม  มีสัตบุรุษและพระพุทธเจ้า   เป็นต้น   และ ๒. โยนิโสมนสิการซึ่งเป็นปัจจัยภายใน   ทำความดีทั้งในที่แจ้งและในที่ลับเป็นผู้ละอายชั่วเกรงกลัวต่อบาปให้ตั้งกุศลจิตในกรรมดีอยู่เป็นนิจ  การเชื่อในกฎแห่งกรรมตามหลักสัมมาทิฎฐิ  เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะมีผลต่อการแสดงออกและการคิด   ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕