หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูไพศาลศีลวัฒน์ (ฐานจาโร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๘ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องน้ำในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาฮินดู
ชื่อผู้วิจัย : พระครูไพศาลศีลวัฒน์ (ฐานจาโร) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๕/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
  แสวง นิลนามะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องน้ำในพระพุทธศาสนา    เถรวาทกับศาสนาฮินดู” นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องน้ำในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องน้ำในศาสนาฮินดู และ ๓) ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องน้ำในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาฮินดู โดยในงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาในเชิงเอกสารจากคัมภีร์ทางศาสนาเป็นหลัก

ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธศาสนาเถรวาท มีทัศนะว่า น้ำเป็นปัจจัยหลักทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ เมื่อขาดน้ำ สิ่งมีชีวิตก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะน้ำเป็นสื่อหรือปัจจัยสำคัญของการเป็นสิ่งมีชีวิตน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต มักมีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากน้ำก็ปราศจากสิ่งมีชีวิต น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลพืช เซลล์สัตว์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งนั้น น้ำ จึงเป็นองค์ประกอบของสรรพสิ่ง สรรพธาตุสรรพวัตถุ และสรรพชีวิต เพราะสรรพสิ่งเหล่านั้นล้วนมีน้ำเป็นส่วนประกอบ

ศาสนาฮินดู มีทัศนะว่า การบังเกิดขึ้นของแม่น้ำคงคาเพื่อชำระบาปของมวลมนุษย์  นั่นเป็นมูลเหตุให้เกิดอิทธิพลต่อความเชื่อของฮินดูชนต่อมาจนถึงปัจจุบัน น้ำยังเป็นเครื่องมือสื่อในการสอนธรรม  เชิงเปรียบเทียบให้เห็นประโยชน์จากน้ำ ซึ่งมีนัยที่แฝงไว้ด้วยหลักธรรมที่ควรพินิจพิจารณาแล้วนำเอาไปใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมได้

แม้พระพุทธศาสนาจะแยกประเด็นอิทธิพลของน้ำในทางศาสนาออกมากกว่าศาสนาฮินดู  แต่โดยภาพรวมแล้ว ก็มี ๒ ประการคือการใช้น้ำในพิธีกรรมทางศาสนา และการใช้เป็นสื่อสอนธรรมให้ดำรงอยู่ในจริยธรรมเบื้องต้น และการเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือการพระนิพพานในทัศนะของพระพุทธศาสนา และโมกษะในทัศนะของศาสนาฮินดู โดยพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงของน้ำที่ไม่มีความจีรังยั่งยืน มีเกิดแล้วก็ดับไปเช่นกัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕