หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการประเสริฐ กาญจโน (วงเวียน)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๙ ครั้ง
ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการประเสริฐ กาญจโน (วงเวียน) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ
  พีรพงษ์ มาลา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

             กรศึกษาิจัยเรื่อง ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นาริจัยเิงคุาพ มีวัตถุระสงค์ ๑) เพื่อศึกษาอิทธิบาท ๔ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของอิทธิบาท ๔ ในพระพุทธศาสนาเถรวาทและ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

             ผการวิัย่า

             ๑) พระพุทธเจ้าทรงแสดง อิทธิบาท ๔ ไว้มีองค์ประกอบ คือ ฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจในกุศล คือประสงค์จะทำยิ่งขึ้น วิริยะ หมายถึงการปรารถนา ความเพียรทางใจ สัมมาวาจา  จิตตะ หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น ไม่ทอดทิ้งภาระ และวิมังสา หมายถึงปัญญากิริยาที่รู้ชัด ความไม่หลง

             ๒) คุณค่าของอิทธิบาท ๔ เป็นหลักธรรมแห่งความสำเร็จแก่ผู้นำไปปฏิบัติที่ทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากจะเป็นคุณธรรมนำไปสู่ความสำเร็จในการงานแล้ว ยังเป็นอายุวัฒนธรรม คือความเป็นเหตุให้คนมีอายุยืนยาวด้วย นอกจากนั้น อิทธิบาท ๔ ยังมีสาระที่เกื้อหนุนการปฏิบัติ เมื่อเกิดฉันทะมีใจรักแล้วก็ให้พากเพียร เมื่อพากเพียรแล้วก็เอาใจใส่เสมอ และเปิดช่องให้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง

             ๓) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือหลักธรรมที่ช่วยให้ทำงานได้สำเร็จ ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในการเรียนรู้ การพัฒนาจิตใจ หน้าที่และการงาน การเรียนรู้ ต้องดูแลการเรียนให้ดี วิริยะ ความเพียรพยายามในการเรียนการพัฒนาจิตใจและการทำงาน คือตั้งใจทำ และมีความรับผิดชอบสูง การทำงานการเรียนรู้และการพัฒนาจิตใจนั้นจะออกมาดีและมีคุณภาพ จิตตะการเอาใจใส่คือความคิด เอาใจจดจ่อในการทำงาน การเรียนการและพัฒนาจิตใจ และวิมังสา การพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรอง คือต้องปรับปรุงอยู่เสมอ

             บุคคลต้องมีพอใจในงานที่ทำ และมีความเพียรพยายามเอาใจใส่ในหน้าที่การงานนั้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบรอบด้าน การศึกษาเล่าเรียนจะประสบผลสำเร็จพัฒนาขึ้น การพัฒนาจิตใจคือการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นรวมทั้งการพัฒนาหน้าที่การงานให้ดีขึ้นได้นั้นต้องมีธรรมประจำใจ คืออิทธิบาท ๔ ประการ เป็นหลักธรรมสำหรับพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลที่ดีของสังคมทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ประกอบด้วย ฉันทะ มีใจรัก วิริยะ พากเพียรทำ จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน หลักธรรมดังกล่าว เปรียบเสมือนต้นทุนชีวิต ช่วยให้ประสบความสำเร็จในทุกกิจการที่กระทำทั้งทางด้านการศึกษา การพัฒนาจิตใจ การประกอบการงาน     การดำรงชีวิตทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕