หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิศวะโรจน์ หมื่นสิทธิ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๑ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลกตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซางกจังหวัดลำพูน(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : วิศวะโรจน์ หมื่นสิทธิ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

กกกกกกกกการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ๒) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ๓) ศึกษาถึงปัญหา และข้อเสนอแนะของประชาชนในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ๔) เพื่อศึกษาแนวทาง        การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน           เป็นการวิจัยแบบผสม(MixedMethod)ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(QuantitativeResearch)    ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(SurveyResearch)และการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitativeresearch)    โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depthInterview)กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(KeyInformants)โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลม่วงน้อยจำนวน ๘ หมู่บ้าน ที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามลำดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วนตามตารางมาตรฐาน    ว่าด้วยขนาดประชากรและขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนที่ระดับความเชื่อมั่น ๙๕ % ระดับความคลาดเคลื่อน ๕ %จำนวน๔,๕๖๑ คนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๕๗ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่(Frequency)และค่าร้อยละ(Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean)และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(StandardDeviation)การทดสอบค่า ที(t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่มและการทดสอบค่าเอฟ(F-Test)ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (OnewayANOVA)และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท พร้อมวิเคราะห์โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน


ผลวิจัยพบว่า :

กกกกกกกก๑) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล              ของเทศบาลตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๓.๖๒)  เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านหลักความคุ้มค่ามีค่าเฉลี่ย (=๓.๙๘)    ด้านหลักความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ย(=๓.๙๑) ด้านหลักความโปร่งใสมีค่าเฉลี่ย (=๓.๕๓)ส่วนด้านที่มีระดับปานกลางเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านหลักการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ย (=๓.๔๖)ด้านหลักนิติธรรม   มีค่าเฉลี่ย (=๓.๔๒)และด้านหลักคุณธรรมมีค่าเฉลี่ย(=๓.๔๐)

กกกกกกกก๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลัก       ธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงน้อยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่เพศ,อายุ,การศึกษา,    อาชีพและรายได้ พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล        ของเทศบาลตำบลม่วงน้อยไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

กกกกกกกก๓) ปัญหาและข้อเสนอแนะพบว่าเจ้าหน้าที่ยังขาดหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักคุณธรรมอยู่บ้างควรนำหลักพุทธธรรมเช่นหลักสุจริตหมายถึงกายสุจริต,วจีสุจริตและมโนสุจริต           ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นในการบริหารงาน

กกกกกกกก๔) แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงน้อยอำเภอ     ป่าซาง จังหวัดลำพูน เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลม่วงน้อย ควรนำหลักธรรมาภิบาลทั้ง ๖ ด้านไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในชุมชน และประเทศชาติ อย่างแท้จริง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕