หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กมลวรรณ แสนคำลือ
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : กมลวรรณ แสนคำลือ ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโสภิต
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 22 มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ๒) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม             ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มาใช้บริการที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลำพูน โดยผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางของเครจซี่และ   มอร์แกน(R.V.Krejcie & Morgan) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม(Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (T-test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ

ผลการวิจัย พบว่า

             1) ประชาชนผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0  มีอายุระหว่าง 20 - 35 ปี จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 42.7  มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปวส.-ปริญญาตรี จำนวน ๑24 คน คิดเป็นร้อยละ 55.1  มีอาชีพรับจ้าง จำนวน 99 คน    คิดเป็นร้อยละ 44.0 มีรายได้ต่อเดือน 5,000–10,000 บาท จำนวน 91 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.4 และมีประสบการณ์ในการใช้บริการ 2- 3 ครั้ง จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 40.4 ประชาชนผู้มาใช้บริการ มีระดับความพึงพอใจในค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ประชาชนผู้มาใช้บริการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน 

             2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการใช้บริการต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม  แตกต่างกัน

             3) ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการตามหลัก    สังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลำพูน พบว่า บางครั้งไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อราชการเท่าที่ควร เช่น สถานที่จอดรถ การให้บริการในวันเวลาราชการเท่านั้น การพูดจาไม่สุภาพ ให้บริการเฉพาะงานในหน้าที่ ไม่มีความเสมอภาค แนวทางการปรับปรุงการให้บริการคือ    การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้พอเพียง เน้นย้ำให้มีจิตใจรักงานบริการ ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนการให้บริการด้วยความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน         

             4) แนวทางการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนท้องถิ่น ได้แก่    การให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรมกับประชานผู้มาใช้บริการ โดยปรารถนาให้ผู้มาใช้บริการมีความพึงพอใจมากที่สุด ด้วยการพูดจาที่สุภาพ ไพเราะ อ่อนหวาน มีหางเสียง ควบคุมสติอารมณ์ การช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาต่างๆด้วยความเต็มใจ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ให้ความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทุกคน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕