หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุดารัตน์ ไกรเนตร
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๗ ครั้ง
การใช้พรหมวิหาร ๔ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับพัฒนาชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : สุดารัตน์ ไกรเนตร ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธงชัย สิงอุดม
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการใช้พรหมวิหาร ๔ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับพัฒนาชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบการใช้พรหมวิหาร ๔ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับพัฒนาชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา    เขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการนำหลักพรหมวิหารธรรม ๔ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร

 

วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในพื้นที่ชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๒๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

 

 ผลการวิจัยพบว่า

(๑) การใช้พรหมวิหาร ๔ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับพัฒนาชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๓

(๒) การเปรียบเทียบการใช้พรหมวิหาร ๔ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับพัฒนาชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตบางแค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่เหลือไม่มีผลต่อความคิดเห็นของประชาชน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย  

 

(๓) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการใช้พรหมวิหาร ๔ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับพัฒนาชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้นำชุมชนยังไม่มีความมั่นใจในการตัดสินใจแก้ปัญหาของชุมชนอย่างเด็ดขาด ผู้นำชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนายังไม่คำนึงถึงการบริหารงานและพัฒนาชุมชนเท่าที่ควร ผู้นำชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนาทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนยังน้อยไป ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าไม่สนิทสนมกัน ข้อเสนอแนะ คือ ผู้นำชุมชนควรมีนโยบายที่ชัดเจน กล้าตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ไม่เปลี่ยนกลับไปกลับมา ต้องการให้ผู้นำชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนาคำนึงถึงการพัฒนาชุมชนให้เป็นระบบ เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ และต้องการให้ผู้นำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕