หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธัญลักษณ์ สาวันดี
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธของ องค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ธัญลักษณ์ สาวันดี ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธงชัย สิงอุดม
  รัฐพล เย็นใจมา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ๑. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง ๒. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางในส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลัก และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) สนับสนุน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อบต.เพ จำนวน ๑๘,๕๒๒ คน โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง ๓๙๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที
(
t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)เพื่อการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.)  ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก ๘ คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structured In-depth Interview) เก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

ผลการวิจัยพบว่า

   ๑) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยองโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยองด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ด้านการร่วมรับผลประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการตรวจสอบ ประเมินผลอยู่ในระดับมาก

 

 

 

             ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕

   ๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง พบว่า ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง คือ การมีผลประโยชน์ส่วนตน และพวกพ้องเป็นสาเหตุที่ไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมากที่สุด ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ต้องทำมาหากินเพื่อหารายได้จึงไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม ประชาชนต้องช่วยตรวจสอบดูแลการรักษาทรัพยากรของพื้นที่ที่มีอยู่ การบริหารงานภาครัฐ ภาคประชาชน และเอกชนควรสร้างความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ต้องรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ดีมีคุณประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร และข้อเสนอแนะ พบว่า การสร้างค่านิยมร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ควรปลูกจิตสำนึกในการรักท้องถิ่นและธรรมชาติ การนำหลักธรรมมาใช้ในการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม การเป็นมิตรกับธรรมชาติ จัดโครงการอบรมอาสาสมัครในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องการสร้างความเข้าใจให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม

 

 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕