หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นัทธพงศ์ เวียงสาม
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง
การจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเทศบาลตำบล บ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : นัทธพงศ์ เวียงสาม ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  ดำเนิน หมายดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก                  อิทธิบาท ๔ ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง   อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาในการนำหลักอิทธิบาท ๔ ไปใช้ในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือประชากรผู้มีสิทธ์เลือกตั้งในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 7,420 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนโดยเทียบสัดส่วน (Proportional Multi-Stage Random Sampling) ตามขั้นตอนคือ ทำการหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ  ทาโร ยามาเน่  (Taro Yamane) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 380 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหา ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นทำการวิเคราะห์ โดยใช้แจกแจงความถี่ (Freguemcg) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ( Comteut Anelysis Technigue)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่า ประชาชนมีระดับความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยเชิงพุทธตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเทศบาล บ้านเวียง อำเภอร้องกวาง    จังหวัดแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.44, S.D. = 0.51)

 

๒) การเปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเทศบาล      บ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, รายได้ต่อเดือน                   และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเทศบาลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

๓) ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท ๔                    ของเทศบาลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่า ปัญหา คือ ขยะมูลฝอยซึ่งเกิดจากการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง รวมไปถึงประชาชนยังไม่ให้ความร่วมมือดีพอ หรือประชาชนบางส่วนยังไม่พร้อมที่จะนำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาดัดแปลงใช้งาน ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการสนับสนุนมากกว่านี้ในการส่งเสริมให้ประชาชนมาสนใจขยะเพื่อให้เกิดรายได้เสริม แต่เจ้าหน้าบางส่วนก็มีความใส่ใจงานจริงแต่ไม่ค่อยทำกัน และยังขาดเจ้าหน้าที่มีการควบคุมดูแลอย่างแท้จริง ส่วนปัญหาจากการที่ไม่มีถังขยะตามท้องถนนทำให้แขกที่มาเยือนในชุมชน หรือเด็กที่ทานขนมตามถนนหนทางไม่สามารถหาที่ทิ้งขยะได้ทำให้ต้องทิ้งตามถนนหนทางซึ่งไม่เกิดความเรียบร้อย

๔) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเทศบาล      บ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่า เจ้าหน้าที่ของเทศบาลมีความพอใจ และรักที่จะแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการที่จะลดปัญหาขยะล้นถังและปัญหาขยะล้นสถานที่กำจัดขยะของเทศบาล และมีการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนนำไปทิ้งขยะส่วนขยะที่สามารถรีไซเคิล หรือนำไปขายได้ก็ให้มีการคัดแยกและนำไปขายเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวส่วนเจ้าหน้าที่ก็มีความเอาใจใส่ และรับผิดชอบต่องานเป็นอย่างมากเนื่องจากต้องการให้ตำบลบ้านเวียงน่าอยู่ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนภายใต้แนวความคิดของนายยกเทศมนตรีบ้านเวียงน่าอยู่มุ่งสู่วิถีชีวิตพอเพียง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕