หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุรัตน์ คำโสภา
 
เข้าชม : ๒๐๐๗๒ ครั้ง
การพัฒนาสังคมตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : สุรัตน์ คำโสภา ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  ทรงวิทย์ แก้วศรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาสังคมตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม” นี้           มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาสังคมตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม (๒) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาสังคมตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม และ (๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสังคมตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม ในสังคมไทย

ผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้ :

พระพุทธศาสนาถือว่าปัจเจกชนเป็นหน่วยของสังคมที่สำคัญ การพัฒนาสังคมจึงเริ่มที่บุคคลก่อน การที่สังคมจะพัฒนาไปในทางใดทางหนึ่งนั้น ประชาชนต้องมีคุณภาพ คือมีตนพัฒนาดีแล้ว และกฎเกณฑ์ในการสร้างสังคมให้สงบสุข เบื้องต้นได้แก่ ศีล ๕ หรือ เบญจศีล ได้แก่ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ และดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ถือว่าศีลเป็นผู้ไม่มีเวรภัยต่อผู้อื่น ได้รับความเคารพเชื่อถือไว้วางใจจากผู้อื่น ทำให้ประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อนึ่ง เมื่อบุคคลสมาทานศีลแล้ว ต้องประพฤติธรรมที่สนับสนุนให้ศีลสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย กล่าวคือ เบญจธรรม ได้แก่ เมตตากรุณา สัมมาอาชีวะ สำรวมในกาม พูดคำสัตย์ และไม่ประมาทคือมีสติสัมปชัญญะ

ดังนั้นเบญจศีลและเบญจธรรมเป็นเรื่องพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลและส่งผลต่อส่วนรวมให้สงบเรียบร้อย เมื่อบุคคลในสังคมที่จิตใจดี คิดดี ทำดี พูดดี ย่อมก่อให้เกิดความสามัคคี รวมกันสร้างชาติ พัฒนาชาติ คือสังคมโดยส่วนรวมในการพัฒนาทุก ๆ ด้าน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕