หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » PHRASAMORN PHROMMATHERO
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง
การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้า บ้านถ้ำเต่า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : PHRASAMORN PHROMMATHERO ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  กิตติทัศน์ ผกาทอง
  บัว พลรัมย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าบ้านถ้ำเต่า                      อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยใช้หลัก ๔M ๒) บูรณาการหลักพุทธธรรม ในการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าบ้านถ้ำเต่า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบูรณาการหลักพุทธธรรม  ในการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าบ้านถ้ำเต่า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากสมาชิกกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านถ้ำเต่า จำนวน ๑๗๕ คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-Test) และค่าเอฟ                   (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)

            ผลการวิจัยพบว่า

                         ๑. หลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการ คือ หลักอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ                   จิตตะ วิมังสา

                      ๒. ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านถ้ำเต่า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ย ๓.๘๓ เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านฉันทะ มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๙๕ รองลงมาคือด้านวิมังสา มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก                 มีค่าเฉลี่ย ๓.๘๕  ด้านจิตตะ มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๙ และ                         ด้านวิริยะ มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๔ ตามลำดับ                                                    ๓. การบูรณาการหลักพุทธธรรม  ในการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าบ้านถ้ำเต่า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยจำแนกข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพ เพศ อายุ ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิก พบว่าสมาชิกที่มีสถานภาพ เพศ อายุ ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ ๐.๐๕

                      ๔. ปัญหาและอุปสรรคของการบูรณาการหลักพุทธธรรม ในการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าบ้านถ้ำเต่า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร พบว่าด้านฉันทะรายได้น้อยไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต ด้านวิริยะ คือการทอผ้าแต่ละผืนมีขั้นตอนกระบวนการที่หลากหลาย ใช้เวลานาน ในการทอ ด้านจิตตะ คือ ด้านวิมังสา คือ สมาชิกบางคนยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในการเป็นสมาชิกกลุ่ม
                             ข้อเสนอแนะซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรม ในการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าบ้านถ้ำเต่า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร พบว่าด้านฉันทะ คือ รัฐบาลควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และการประชาสัมพันธ์ ด้านวิริยะ คือ รัฐบาลควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบลวดลายผ้า ด้านจิตตะ คือ ผู้ปกครองควรปลูกฝังเอกลักษณ์ในการทอผ้าย้อมครามให้กับลูกหลาน ด้านวิมังสา คือ ทุกคนควรมีเป้าหมายในชีวิต

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕