หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พรรณทิพา ชเนศร์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
คุณภาพชีวิตของผู้ใช้ยาสมุนไพรในการรักษาแบบแพทย์แผนไทยโดยการปรับสมดุลธาตุทั้ง ๔ ตามหลักพุทธจิตวิทยา (สาขาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : พรรณทิพา ชเนศร์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  สาระ มุขดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีจุดประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ยาสมุนไพรในการปรับสมดุลธาตุ ๔ ตามแบบการรักษาแพทย์แผนไทยและการส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก ๕อ. และหลักพุทธจิตวิทยา ๒) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ยาสมุนไพรในการปรับสมดุลธาตุทั้ง๔ ตามแบบการรักษาแพทย์แผนไทยควบคู่กับการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้หลัก ๕อ. และหลักพุทธจิตวิทยาในการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๓) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้ยาสมุนไพรในการปรับสมดุลธาตุ๔ตามแบบการรักษาแพทย์แผนไทยกับการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้หลัก ๕อ.และหลักพุทธจิตวิทยา

                 กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเข้ามารับการรักษาที่ชมรมแพทย์แผนไทยวัดบางกร่างอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.๒๕๕๘ จำนวน ๒๐ ราย โดยความสมัครใจแบ่งเป็น ๒ กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่๑ จำนวน ๑๐ราย รับประทานยา ๑๒๐วัน ร่วมกับการเข้าร่วมกิจกรรมตามหลัก ๕อ. และใช้หลักธรรม อิทธิบาท๔ในวันที่ ๖๑-๑๒๐ กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มควบคุมรับประทานยา๑๒๐วันแต่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม  เครื่องมือที่ใช้  เป็นแบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (T-test)

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 ) ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้ากิจกรรมของคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยกลุ่มทดลองอยู่ที่ ๐.๖๙ กลุ่มควบคุมอยู่ที่ ๐.๓๙ โดยกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่า ๐.๓๐

             ) การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบของคุณภาพชีวิตก่อนและ หลังการรับประทานยาของทั้งสองกลุ่ม พบว่ามีค่าเพิ่มสูงขึ้นและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ แสดงว่าการใช้ยาสมุนไพรมีประสิทธิผลในการปรับสมดุลธาตุทั้ง ๔ ตามแบบแพทย์แผนไทย

           ) กลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากความอดทน ตั้งใจ มุ่นมั่นในการดูแลสุขภาพของตัวเองหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีค่าเฉลี่ยของความเข้าใจในหลักธรรมอิทธิบาท ๔ ก่อน และหลังการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นค่าเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น ๐.๕๐ และจากบทสัมภาษณ์เชิงลึก

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕