หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการชราวุฒิ วุฑฺฒิโก (สิทธิปัญญา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๑ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาของ ประชาชน ในชุมชนตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการชราวุฒิ วุฑฺฒิโก (สิทธิปัญญา) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระโกศัยเจติยารักษ์
  พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗/มีนาคม/๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑)  เพื่อศึกษาภูมิปัญญาของประชาชนในชุมชนตำบลน้ำริด อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์ ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างภูมิปัญญาตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างภูมิปัญญาของชุมชนตำบลน้ำริด  อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมุ่งศึกษาข้อมูลจากหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเถรวาทและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชนตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรดิตถ์ และการจัดกลุ่มเสวนา แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสรุปผล เขียนแบบบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

ภูมิปัญญา คือ องค์ความรู้ที่สั่งสมและสืบทอดต่อๆมา เป็นภูมิปัญญาที่ได้จากบรรพบุรุษ ที่ถ่ายทอดมาให้ลูกหลานและได้ประสบการณ์เรียนรู้ ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์     เป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งน้ำและพื้นดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ทำนาทำไร่ จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อการทำการเกษตรกรรมแก่ชาวตำบลน้ำริดเป็นอย่างมาก ภูมิปัญญาของตำบลน้ำริดเป็นการสั่งสมความรู้ในการประกอบอาชีพด้านกสิกรรมมานาน ทำให้เกิดภูมิปัญญาที่สามารถสร้างงานสร้างเศรษฐกิจ และทำให้มีรายได้เข้ามาในชุมชนตำบลน้ำริด ภูมิปัญญาในตำบลน้ำริด ได้แก่         ๑. ภูมิปัญญาในด้านการทอผ้า 2. ภูมิปัญญาในด้านการผลิตข้าวกล้อง 3. ภูมิปัญญาด้านการจักสาน         4. ภูมิปัญญาด้านการตีเหล็ก (มีด, พร้า)

หลักธรรมที่ประชาชนนำมาใช้ในการเสริมสร้างภูมิปัญญาของตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ ๑. หลักธรรมสันโดษ เป็นการเสริมสร้างให้ประชาชนในตำบลน้ำริดได้มีอาชีพมีรายได้มีการอยู่ดีกินดีมีความพอเพียงในในความเป็นอยู่และมีความสุขมีการพัฒนาตน ครอบครัว และชุมชน เมื่อได้นำมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาแล้วพบว่าผู้ผลิตสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่เดือดร้อนทำให้ครอบครัวมีความสุขปราศจากภาระหนี้สิน ๒. หลักการทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ เป็นหลักธรรมที่สามารถอาศัยความขยันหมั่นเพียรใช้ได้กับภูมิปัญญาเพราะการทำงานด้านนี้ต้องอาศัยความอดทนในงานที่ทำหมั่นอดออมประหยัดและรู้จักรักษาทรัพย์ และการใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้ทำให้ครอบครัว ไม่เดือดร้อน รู้จักคบคนดีเป็นกัลยามิตร และสามารถสร้างฐานะให้มั่นคงได้ ๓. หลักธรรมในการพึ่งตนเอง เป็นหลักธรรมที่ พุทธศาสนาสอนให้เราพึ่งตนเองโดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับใครสามารถสร้างตนเองได้ โดยไม่เดือดร้อนใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายซึ่งหลักธรรมข้อนี้ไปตรงกับทฤษฎีของตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงได้ให้แนวทางแห่งการปฏิบัติแก่ประชาชนและพระองค์ท่านได้ส่งเสริมด้านนี้มาตลอดผู้นำเอาแนวทางแล้วมาปฏิบัติสามารถให้เห็นผลได้ตามเป็นจริง

หลักพุทธธรรมเมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้ความเป็นอยู่ในการดำรงชีพของประชาชนในตำบลน้ำริด มีความเป็นอยู่ทีดีขึ้น ทำให้ เกิดความรักความหวงแหนและสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ให้ลูกให้หลานสำหรับดำรงชีพสืบต่อไป โดยได้น้อมนำเอาทฤษฏีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักในการการส่งเสริมการประกอบอาชีพด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่กันไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕