หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาถวิล ฐานธมฺโม (มัดถาปะกา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
ศึกษาแนวทางการสอนวิปัสสนากรรมฐานของพระราชสิทธาจารย์, วิ. (ทองใบ ปภสฺสโร) ที่มีต่อชุมชนวัดนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาถวิล ฐานธมฺโม (มัดถาปะกา) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราเชนทร์ วิสารโท
  เจษฎา มูลยาพอ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ                

 

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาแนวทางการสอนวิปัสสนากรรมฐานของพระราชสิทธาจารย์  (หลวงพ่อ ทองใบ ปภสฺสโร) ต่อชุมชนวัดนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และ (๓) เพื่อศึกษาอิทธิพลการสอนวิปัสสนากรรมฐานของพระราชสิทธาจารย์  (หลวงพ่อ ทองใบ ปภสฺสโร) ต่อชุมชนวัดนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูล

             ผลการวิจัยพบว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ในส่วนที่เป็นวิปัสสนาธุระ เป็นการอบรมทางจิต โดยการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ สลัดเครื่องพันธนาการทางใจ เพราะว่าสติปัฏฐานนี้ เป็นทางสายเอก ทางสายหลัก ทางอันอุดม ทางอันเกษม ทางอันสูงสุด ที่จะทา ให้เหล่าเวไนยสัตว์ข้ามพ้น ความทุกข์โศก โดยใช้สติพิจารณา ในกายเวทนา จิต และธรรม ทั้งภายในภายนอกเท่านั้น

 

             การสอนวิปัสสนากรรมฐานของพระราชสิทธาจารย์  (หลวงพ่อ ทองใบ ปภสฺสโร) มีความสามารถพิเศษในเชิงวาทศิลป์  การแสดงธรรมทุกครั้งจึงมีผู้ศรัทธาเข้าร่วมรับฟังมาก ด้วยนิสัยและบุคลิกลักษณะที่สมถะสันโดษการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย มุ่งประโยชน์อันเป็นประโยชน์สุขของส่วนรวม และชีวิตสมณะอย่างท่านก็มีความเรียบง่าย ไม่นิยมสะสมของส่วนตัว ท่านจึงเป็นพระเถระอีกรูปหนึ่งที่บริสุทธิ์ด้วยศีลอันน่ายกย่อง

          อิทธิพลของหลักคำสอนและผลการปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระราชสิทธาจารย์ (ทองใบ ปภสฺสโร) ที่มีต่อสังคมต่อชุมชนวัดนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามทำให้วิถีชีวิตของผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติ เกิดความเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ดีงามตามแบบวิถีธรรมวิถีพุทธ ดำเนินชีวิตอย่างฉลาดตามหลักศีลธรรม รู้จักพัฒนาตนใน ๒ ด้าน คือ ด้านวัตถุและด้านจิตใจ ซึ่งจะต้องทำไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เกิดความสมดุลซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินชีวิตที่ดีไม่ควรแยกตัวออกจากธรรมชาติ เพราะธรรมชาติทำให้เข้าใจชีวิตได้ง่าย เมื่อเราอยู่กับธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะอยู่กับเรา เมื่อเราไม่ทำลายธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะให้ประโยชน์กับเรา จึงควรอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน และได้รับประโยชน์ร่วมกัน ไม่เห็นแก่ได้จนกลายเป็นเห็นแก่ตัว รู้จักให้มากกว่ารับ รู้จักความพอดีพอเพียง ไม่ประมาท บริบูรณ์พร้อมด้วยความดีและความสุข

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕