หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการสมนึก นรินฺโท (ฤทธิ์มาก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๓ ครั้ง
ศึกษาแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานของพระราชนิโรธรังสี (หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี) วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการสมนึก นรินฺโท (ฤทธิ์มาก) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริรัตนานุวัตร
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ธันวาคม 2560
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                 การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔    ๒. เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานของพระราชนิโรธรังสี (หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี) ๓. เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระราชนิโรธรังสี เป็นแบบวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้เอกสารปฐมภูมิได้แก่พระไตรปิฎก อรรถกถาพระไตรปิฎก และเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ ตำรา หนังสือ รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

 

    ผลการวิจัยพบว่า 

 

                 พระราชนิโรธรังสี มีหลักคำสอนการปฏิบัติกรรมฐานกรรมสำคัญ คือ ทาน ศีล ภาวนา ปัญญา  อันเป็นธรรม  เราต้องมีสมบัติมนุษย์  เข้าใจมัจจุราช  เข้าใจธาตุสี่   เข้าใจสมมติ  เราต้องปฏิบัติธรรม   มีธรรมวิบูลย์  มีศีล สมาธิ ปัญญา  พร้อมกับมีศรัทธา  มีหิริ โอตตัปปะ  กำจัดทุกข์  มีสติ  มีจิตที่เป็นหนึ่ง เห็นธรรม มีเอกัคคตารมณ์ มีจิตว่าง  มีปหานปธาน ละบ่วงแห่งมาร ในที่สุดมีโลกุตตรจิต มีจิตดิ่ง เข้าใจ อนัตตา มีจิตประภัสร เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านจะสอนเรื่องนิมิต และอริยมรรค ๘ ประการ        

               แนวทางการปฏิบัติกรรมฐานของพระราชนิโรธรังสี  ประกอบด้วยหลักอันถือเป็นบุพพกิจก่อนนั่ง  อบรมจิตก่อนนั่ง และภาวนา ท่านจะสอนให้ภาวนาบริกรรมว่า พุทโธ ๆ  หรือ อาณาปานสติ พร้อมไปกับแก้วิปลาสในฌาน และท่านจะสอนวิธีการประยุกต์ใช้คำสอนการปฏิบัติกรรมฐานให้มีทาน ศีล ภาวนา และปัญญา  และท่านจะสอนการประยุกต์ใช้เรื่องกรรมนิมิต – คตินิมิต โดยให้มีแรงดลใจ สร้างอุปมา นึกถึงเทวทูต  มีสติสัมปชัญญะ สติปัฏฐานสี่ ให้กำหนดวัตถุอารมณ์ ๔๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง เราต้องกำหนดความเจ็บปวด กำหนดจิตว่ามีโลภ โกรธ หลง กำหนดเห็นไตรลักษณ์  ประยุกต์ใช้กรรมฐานกับงานทั่วไป โดยมีสติ มีปัญญา เห็นภัยข้างหน้า ท่านจะสอนให้ประยุกต์ไตรสิกขา โดยมีความรู้ กิจกรรม และการบริหารจัดการ และประยุกต์ใช้อริยมรรค  โดยมีสมถะวิปัสสนา         

ดาวน์โหลด                                            

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕