หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุวรรณ กมฺพุวณฺโณ (ทองรัศมี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๒ ครั้ง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตปัญญาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแนวพุทธจิตวิทยา (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุวรรณ กมฺพุวณฺโณ (ทองรัศมี) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ตุลาคม 2560
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

             การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตปัญญาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแนวพุทธจิตวิทยา”มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษา   ตอนปลาย จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแนวพุทธจิตวิทยา ๒)เพื่อศึกษาปัจจัยชีวะสังคม ลักษณะจิตสังคม ลักษณะจิตเดิมที่มีความสัมพันธ์ต่อจิตปัญญาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแนวพุทธจิตวิทยา ๓)เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจิตปัญญาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแนวพุทธจิตวิทยา

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏิ์และโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร คือนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ๗๒๐  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยา แบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (
SD) และวิเคราะห์ความเที่ยงตรงความสัมพันธ์ของปัจจัย(Confirmatory Factor Analysis (CFA) ประมวลผลโดยโปรแกรม AMOS โดยปัจจัยที่ทำการ ศึกษาได้แสดงผลค่าน้ำหนักปัจจัย ( Factor Loading) มากกว่า .๐๕

ผลการวิจัยศึกษาปัญหาสำรวจจากแบบสอบถาม จำนวน ๗๒๐ ชุด พบว่า ระดับความต้องการในการได้รับความรู้ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๕ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๖ เป็นความต้องการในการได้รับความรู้ของนักเรียน ในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยา ด้านจิตปัญญาของนักเรียนมัธยมรองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๕๖ ของความต้องการความรู้ คือ นักเรียนต้องการสนับสนุนในการจัดการประชุม
และนักเรียนต้องการการเข้าอบรมพัฒนาจิตใจ และน้อยที่สุดของระดับความต้องการในการได้รับความรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๒ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๙ ของความต้องการความรู้
คือ นักเรียนต้องการการพัฒนาความสามารถตนเองที่จะรับผิดชอบงานที่ตนเองได้รับผิดชอบ
และต้องการดำเนินการติดตามและประเมินผล ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยา โดยภาพรวมส่วนใหญ่ของความต้องการในการได้รับความรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๕ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๖ อยู่ในระดับมากทุกด้าน

ผลการวิจัยปัจจัยชีวะสังคม ลักษณะจิตสังคม ลักษณะจิตเดิมต่อระดับจิตปัญญา จำนวน ๗๒๐ ชุด ด้านปัจจัยชีวะสังคม พบว่าในการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน ๓๖๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๔๐ รองลงมาเป็นเพศหญิง จำนวน ๓๕๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๖๐ ประชากรส่วนใหญ่
อายุ ๑๖-๑๗ ปี จำนวน ๔๐๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๓๐ รองลงมา อายุ ๑๔-๑๕ ปี จำนวน ๑๖๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๔๐ และน้อยที่สุด มัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๕ จำนวน ๑๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๑๐ ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๒๙๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๖๐ รองลงมาเป็นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ จำนวน ๒๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๓๐ และน้อยที่สุดเป็นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๕ จำนวน ๑๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๑๐ ครอบครัวส่วนใหญ่ อยู่กับบิดาและมารดา จำนวน ๔๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๑๐ รองลงมาอยู่กับมารดา จำนวน ๑๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๘๐ และน้อยที่สุดอยู่กับญาติ จำนวน ๖๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๖๐ ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ พบว่า อยู่บ้านตนเอง จำนวน ๖๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๔๐ และรองลงมาอยู่บ้านเช่า ด้านลักษณะจิตสังคม พบว่า
ปัจจัยแฝงจิตสังคมของนักเรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อระดับจิตปัญญาให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) เท่ากับ 1.02 (TE=DE( 1.02) + IE (0) =1.02) สรุปได้ว่า ลักษณะจิตสังคมแท้ของเด็กนักเรียน ทั้งด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ลักษณะมุ่งอนาคต สุขภาพจิต และการตระหนักรู้ มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อระดับจิตปัญญาของนักเรียน ด้านลักษณะจิตเดิม พบว่าปัจจัยแฝงจิตเดิมของนักเรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อระดับจิตปัญญาให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) เท่ากับ 1.02 (TE=DE(1.02) + IE (0) =1.02) สรุปได้ว่า ลักษณะจิตเดิมแท้ของนักเรียนทั้งด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ลักษณะมุ่งอนาคต สุขภาพจิต และการตระหนักรู้          มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อระดับจิตปัญญาของนักเรียน

ผลการวิจัยพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนักเรียน พบว่าความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของการพัฒนาจิตปัญญา แบบมีตัวแปรแฝงมาช่วยในการวิเคราะห์ตัวแปรแฝงลักษณะจิตสังคม และตัวแปรแฝงลักษณะจิตเดิม ทำให้สามารถอธิบายโมเดลสมการโครงสร้างแบบมีตัวแปรแฝงที่ส่งผลต่อจิตปัญญาของนักเรียน ตามแนวพุทธจิตวิทยาเป็นโมเดลที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระดับพัฒนาจิตปัญญาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแนวพุทธจิตวิทยาได้ ร้อยละ 80 (R2=0.80) โมเดลนี้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕