หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจีระ เตชปญฺโญ (อาจสมคำ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
ศึกษาสภาวะรูปนามในการปฏิบัติวิปัสสนาหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ชื่อผู้วิจัย : พระจีระ เตชปญฺโญ (อาจสมคำ) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิโรจน์ คุ้มครอง
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ เพื่อศึกษากายานุปัสสนาสติปัฏฐานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และศึกษาสภาวะรูปนามในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาหมวดกายานุปัสสนา
สติปัฏฐานโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา รวมทั้งข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาเรียบเรียงบรรยายตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

            จากการศึกษาวิจัยพบว่า หมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือหลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาโดยเจริญสติและสัมปชัญญะในการกำหนดรู้สภาวธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับร่างกายทั้ง ๖ บรรพะ คือ อานาปานปัพพะ อิริยาบถปัพพะ สัมปชัญญะปัพพะ ธาตุมนสิการปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ และนวสีวถิกปัพพะ การกำหนดรู้สภาวธรรมใน ๖ บรรพะนี้เป็นการฝึกให้เกิดการรู้เห็นสภาวะการเกิดดับของอารมณ์ปรุงแต่งจิตตามความเป็นจริง

          สภาวะรูปนามของการเจริญวิปัสสนาภาวนาในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ
ผู้ปฏิบัติต้องฝึกเจริญสติสัมปชัญญะให้จิตรู้ทันอารมณ์ต่าง ๆ ทางกายที่กำลังปรากฏจริงทุกขณะ โดยไม่ให้สิ่งใดมาปรุงแต่งจิต แต่เป็นเพียงอาการรู้เท่านั้น เมื่อจิตน้อมไปสู่สภาวะอารมณ์ทุกอย่างซึ่งเป็นสภาวะที่กำลังเกิดดับ ณ ปัจจุบันขณะ ทีละขณะตามสภาพความเป็นจริงด้วยปัญญินทรีย์ ไม่มีการตรึกนึกคิด ผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดรู้ต่อเนื่องไม่หยุดในบรรพะต่าง ๆ การทำงานของสติในการพิจารณารูปและนามจะปรากฏชัดเจนตามลำดับของวิปัสสนาญาณ  ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นสภาวะที่เกิดขึ้นของรูปนามของกายตามที่ปรากฏจริง  รู้แจ้งรูปนามตลอดเวลาซึ่งเกิดดับตามหลักไตรลักษณ์ มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา  ผู้ปฏิบัติสามารถเห็นคุณและโทษของอารมณ์ต่าง ๆ เนื่องด้วยกายและอาการที่ปรากฏทางกายทั้งหมดในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก การยืน การเดิน การนั่ง เป็นต้นจัดเป็นรูป  ส่วนสภาวะที่เข้าไปรู้อาการนั้น ๆ เรียกว่านาม  ทั้งรูปและนามนี้ ล้วนตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความดำรงอยู่ได้ยาก และความไม่ใช่ตัวตน  จิตจะเกิดวิปัสสนาญาณ บริสุทธิ์เป็นขั้น ๆ ไป เข้าสู่กระแสแห่งอริยมรรค อริยผล จนถึงบรรลุพระนิพพาน ได้ในที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕