หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุชิน วชิรญาโณ (เชยผลบุญ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธของผู้บริหารในการบริหารงาน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุชิน วชิรญาโณ (เชยผลบุญ) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาอุดร อุตฺตโร
  พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธโรงเรียนพระปริยัติธรรม
แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (
Descriptive Research) ประกอบด้วยการวิจัย             เชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน ๑๒๓ ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบรายคู่โดยการทดสอบสมมติฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน ๗ รูป / คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า :

                   ๑. การประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียน
พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
มี ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านการบริหาร
งานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ๒) ด้านการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล
๓) ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ๔) ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักอธิปไตย ๓ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม ๗

                   ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดของผู้บริหารและครูที่มีต่อการประยุกต์ใช้
หลักธรรมเชิงพุทธของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า

                   บุคลากรที่เป็นเพศชาย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ มากกว่าเพศหญิง
มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้                      บุคลากรที่มีอายุต่ำกว่า ๓๐ ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรม
เชิงพุทธในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ มากกว่าบุคลากรที่มีอายุระหว่าง ๓๐ - ๔๐ ปีและสูงกว่า ๔๑ ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

                   บุคลากรที่มีระดับการศึกษา ปริญญาเอก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธในการ บริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ มากกว่าบุคลากรที่มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี และบุคลากรที่มีระดับการศึกษา ปริญญาโท
มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้                      บุคลากรที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ มากกว่าครู
มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้                      บุคลากรที่มีระดับประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง ๑๑ - ๑๕ ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ มากกว่าบุคลากรที่มีระดับประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง ต่ำกว่า ๕ ปี บุคลากรที่มีระดับประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง ๕ - ๑๐ ปี และบุคลากรที่มีระดับประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง ๑๖ ขึ้นไป มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕
จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

                   ๓. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า

                   แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ กับการบริหารงานวิชาการ มีดังนี้
ควรเปิดโอกาสให้คณะครูทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตร วางแผนงานวิชาการ
การจัดการเรียนการสอน ร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล

                   แนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล กับการบริหารงบประมาณ มีดังนี้
ผู้บริหารควรมีความรอบคอบ มีส่วนร่วมในการวางแผนงบประมาณให้เป็นระบบและชัดเจน
จัดสรรงบประมาณให้แก่ฝ่ายต่างๆ ไว้อย่างเหมาะสม จัดทำหลักฐานการเบิกจ่ายเงินเพื่อใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นปัจจุบันและตรวจสอบได้ เน้นความเสมอภาค ยุติธรรม

                   แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม ๗ กับการบริหารงานบุคคล มีดังนี้
ผู้บริหารต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อผู้ร่วมงาน ให้ความเมตตา ช่วยเหลือให้คำปรึกษา ส่งเสริมและร่วมแก้ปัญหา

                   แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอธิปไตย ๓ กับการบริหารงานทั่วไป มีดังนี้
ผู้บริหารควรกระจายความสำคัญทุกภาคส่วน ประสานงานกับทุกฝ่ายโดยเป็นผู้นำในการทำงาน
ซึ่งจะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียนมากที่สุด

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕