หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพรหมปัญญา พฺรหฺมปญฺโญ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
วินยตฺถสารสนฺทีปนี นาม วินยวินิจฺฉยฏีกา (ปฐโม ภาโค) : การแปลและการศึกษาวิเคราะห
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพรหมปัญญา พฺรหฺมปญฺโญ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ
  พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ)
  บรรจบ บรรณรุจิ
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาคัมภีร์วินยัตถสารสันทีปนี นาม วินยวินิจฉยฎีกา (ปฐโม ภาโค) (๒) เพื่อแปลคัมภีร์วินยัตถสารสันทีปนี นาม วินยวินิจฉยฎีกา (ปฐโม ภาโค) จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย (๓) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์วินยัตถสารสันทีปนี นาม        วินยวินิจฉยฎีกา (ปฐโม ภาโค) โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและดำเนินการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินตามขั้นตอนวิจัยคือ การแปลเนื้อหาภาษาบาลีเป็นภาษาไทย การศึกษาเนื้อหาคัมภีร์ วิเคราะห์ด้านคุณค่าและความสัมพันธ์เชิงคัมภีร์ และสังเคราะห์เนื้อหาคัมภีร์วินยัตถสารสันทีปนี นาม วินยวินิจฉยฎีกา (ปฐโม ภาโค) 

ผลการวิจัยพบว่า 

 

(๑) จากการศึกษาคัมภีร์ ทำให้ทราบว่า คัมภีร์ วินยวินิจฺฉย-อุตฺตรวินิจฺฉยฉบับบาลี
เรียบเรียงแบบร้อยกรอง (รูปคาถา) เป็นต้นแบบโครงเรื่องหลัก ที่ผู้แต่งคัมภีร์
วินยัตถสารสันทีปนี นามวินยวินิจฉยฎีกาได้นำใจความในรูปคาถา มาเรียบเรียงอธิบายเนื้อหาแบบร้อยแก้ว เพื่อให้
ผู้ศึกษาเข้าใจข้อวินิจฉัยด้านพระวินัยในแง่มุมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และมีลักษณะความสัมพันธ์เชื่อมโยงเนื้อหาเชิงคัมภีร์ตลอดสายย้อนจากปลายไปหาต้น คือ จากฎีกาพระวินัย จนถึงพระวินัยปิฎก นอกจากนี้ยังประกอบด้วยพระสุตตันตปิฎก และมติของอาจารย์ต่างๆ ด้วย

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕