หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุดใจ สุขวฑฺฒโน (วงละคร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
การศึกษาเรื่องพ่อในวรรณคดีบาลี(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุดใจ สุขวฑฺฒโน (วงละคร) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(บาลี)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชเวที
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  นายรังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ เมษายน ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและบทบาทของพ่อที่มีต่อลูกฐานะของพ่อที่ปรากฏต่อลูก และเรื่องตัวอย่างของพ่อ จากการศึกษาได้พบว่าคำว่าพ่อที่ปรากฏในวรรณคดีบาลีมี ๓ ศัพท์คือ ชนก ตาตะ และ ปิตา ชนก หมายถึง พ่อผู้ให้กำเนิด ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาเป็นส่วนมากตาตะ หมายถึง พ่อผู้บำรุงเลี้ยงลูก นิยมใช้ ๓ ความหมายคือ ใช้เรียกพ่อ เรียกลูกและเรียกบุคคลอื่นด้วยความเคารพ ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสเป็นส่วนมาก ส่วนความหมายที่นิยมใช้คือใช้เรียกลูกปิตา หมายถึง พ่อผู้คุ้มครองดูแลรักษาลูก ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสเป็นส่วนมาก ทั้ง ๓ ศัพท์นั้น ศัพท์ที่นิยมใช้คือ ตาตะ และ ปิตา บทบาทของพ่อที่มีต่อลูกมี ๕ ประการ เช่น ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ผู้เป็นพ่อพึง

กระทำต่อลูกด้วยความเอ็นดูโดยยึดหลักอามิสสงเคราะห์และธรรมสงเคราะห์ หากว่าพ่อไม่ทำเช่นนั้นแล้วย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติไม่สมควรต่อลูกพ่อได้รับการยกย่องประดุจว่าเป็นพรหมของลูกคู่กับแม่ แต่ต่างกันในด้านการ
ปฏิบัติหน้าที่ เพราะฉะนั้น พ่อและแม่จึงมีความสำคัญต่อลูกเสมอกัน เหมือนคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ลูกพึงวางแม่ไว้บนบ่าขวา วางพ่อไว้บนบ่าซ้ายแล้วประคับประคองปรนนิบัติลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพ่อตัวอย่างในวรรณคดีบาลีย่อมปรากฏว่า ความรักของพ่อที่มีต่อลูกมี ๒ ลักษณะคือพ่อที่รักลูกด้วยเมตตาจิตเช่นเรื่องพระเวสสันดรและเรื่องพระพุทธเจ้า ส่วนพ่อที่รักลูกแบบ ผิดๆ คือสอนให้ลูกเป็นคนตระหนี่เช่นเรื่องอานันทเศรษฐี
Download :  255029.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕