หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อุทัย กมลศิลป์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดพุทธจริยศาสตร์กับการลงโทษประหารชีวิต
ชื่อผู้วิจัย : อุทัย กมลศิลป์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  จรัส ลีกา
  สุวิน ทองปั้น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีพุทธจริยศาสตร์เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิต ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการลงโทษประหารชีวิต ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดพุทธจริยศาสตร์กับการลงโทษประหารชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

๑) แนวคิดทฤษฎีพุทธจริยศาสตร์เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิต พบว่า พุทธปรัชญามีทัศนะว่าเจตนาเป็นมโนกรรม เกณฑ์ตัดสินความดีอาศัยหลักศีล ๕ และหลักกรรม พุทธจริยศาสตร์เป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันเพื่อความเป็นระเบียบและความสงบสุขของสังคม โทษประหารชีวิตถือเป็นโทษสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อมุ่งกระทำต่อชีวิตนักโทษเป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมแก่บุคคลผู้กระทำความผิดโดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อทำลายชีวิตหรือเพื่อฆ่าให้ตายเป็นการกำจัดผู้กระทำความผิดออกจากสังคมอย่างเด็ดขาด สำหรับวิธีการประหารชีวิตมีความแตกต่างกันออกไปตามยุค

๒) สภาพปัญหาการลงโทษประหารชีวิต พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการใช้การลงโทษประหารชีวิตมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ซึ่งโทษประหารชีวิตเป็นการวางโทษทางกฎหมายบ้านเมือง ส่วนบทลงโทษสำหรับภิกษุผู้กระทำความผิดในพระพุทธศาสนาเรียกว่า พระพุทธบัญญัติหรือพระวินัย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เป็นพุทธอาณา มีบทลงโทษตามฐานของความผิด เริ่มตั้งแต่เบาไปจนถึงหนักสุดคือการพ้นจากความเป็นพระภิกษุ

 

๓) วิเคราะห์แนวคิดพุทธจริยศาสตร์กับการลงโทษประหารชีวิต พบว่า หลักการของศีล ๕ เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าทรงไว้เป็นหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ส่วนการลงโทษประหารชีวิตนั้น พระพุทธศาสนามีท่าทีที่ว่าเมื่อบุคคลได้กระทำการละเมิดกฎหมายบ้านเมืองร้ายแรง ควรได้รับการพิจารณาโทษตามประมวลกฎหมายนั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามหลักกรรมในพระพุทธศาสนา โทษประหารชีวิตเมื่อเทียบกับหลักกรรมแล้วจัดเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล ดังนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้องควรใช้หลักเมตตาธรรม คือ เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ต่อบุคคลที่ได้รับโทษประหารชีวิต

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕