หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดสุรพล นิปุโณ (มุททารัตน์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การพัฒนาพระนักเทศน์ต้นแบบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดสุรพล นิปุโณ (มุททารัตน์) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประเสริฐ ธิลาว
  เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑.เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาของพระนักเทศน์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๒.เพื่อศึกษาคุณลักษณะของพระนักเทศน์ต้นแบบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ ๓. เพื่อเสนอการพัฒนาพระนักเทศน์ต้นแบบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๙ รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๑๐ รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน ๓๓๘ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๔๓ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              ผลการวิจัยพบว่า

๑. สภาพทั่วไปและปัญหาของพระนักเทศน์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า การเทศน์ของพระนักเทศน์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการเทศน์ในแบบที่เรียกว่า การเทศน์แบบธรรมวัตร เป็นการอ่านบทเทศน์จากพระคัมภีร์ และการเทศน์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพิธีกรรมตามประเพณีเท่านั้น เช่น การเทศน์ในงานบวช งานศพ หรืองานทำบุญต่าง ๆ เป็นต้น พระนักเทศน์ที่ได้รับการฝึกอบรมและแต่งตั้งเป็นพระนักเทศน์แม่แบบหรือพระนักเทศน์ประจำจังหวัดจากมหาเถรสมาคมก็ยังมีจำนวนน้อย คณะสงฆ์จังหวัดประจวบคีรนีขันธ์ได้เคยมีจัดโครงการเพื่อฝึกอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัดขึ้น แต่ไม่มีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจึงต้องเลิกไป

๒. คุณลักษณะของพระนักเทศน์ต้นแบบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต้องประกอบด้วย           ๑.หลักองค์ธรรมกถึก ๒.เป็นพหูสูต ๓.หลักพุทธวิธี ๔ ส. (สันทัสสนา สมาทปนา สมุตเตชนา และสัมปหังสนา) ๔.มีความดีและจริยธรรม ๕.มีบุคลิกภาพที่ดี ๖.มีความประพฤติการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถกล่าวได้ว่า การเป็นพระนักเทศน์ที่ดีจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ แต่การเป็นพระนักเทศน์ต้นแบบ จะต้องมีการพัฒนาบุคคลด้วยการฝึกอบรมทางกายภาพและความสามารถเฉพาะบุคคลที่มากกว่านั้น ตามหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยหลัก ๓ ประการ คือ ๑. การศึกษา ๒.การฝึกอบรม  และ ๓. การพัฒนาความรู้ให้มีทักษะในการเทศน์ รู้วิธีการนำเอาเทคโนโลยีมาเสริมการเทศน์ เสริมสร้างความเชี่ยวชาญให้มากขึ้น

๓.การพัฒนาพระนักเทศน์ต้นแบบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระสังฆาธิการต้องมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมให้มีการสร้างพระนักเทศน์ประจำจังหวัดให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาให้เป็นพระนักเทศน์แม่แบบและพระนักเทศน์ต้นแบบด้วยการให้การศึกษาการฝึกอบรมเป็นระยะ ๆ ควรให้มีการจัดตั้งชมรมพระนักเทศน์หรือสภาพระนักเทศน์ของจังหวัดขึ้นเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายทำหน้าที่บริหารจัดการเกี่ยวกับพระนักเทศน์ รวมถึงเป็นการตรวจสอบวัดผลประเมินคุณภาพของพระนักเทศน์ด้วย

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕