หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสาโรจน์ ธีรภทฺโท (นิ่มเนียม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียน มัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสาโรจน์ ธีรภทฺโท (นิ่มเนียม) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เกษม แสงนนท์
  พระครูสาทรปริยัติคุณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาสภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ๒. เพื่อเปรียบเทียบการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และ ๓. เพื่อเสนอแนะแนวทางการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียน           ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการโดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๓๓๑ คน และใช้สถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Standard Deviationและทดสอบสมมติฐานหาค่าที    t-testและF-test ในกรณีมีตัวแปรมากสองกลุ่ม และแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

 

ผลการวิจัย

๑. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีความคิดเห็นต่อสภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวม และทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านสื่อธรรมชาติในการสอนศีลธรรมด้านสื่อสิ่งพิมพ์อื่นและวัสดุอุปกรณ์การสอนศีลธรรมด้านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนศีลธรรม ตามลำดับ

๒.ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม หาค่า F-test จำแนกตามอายุตามชั้นการเรียนนักเรียนมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกันไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ข้อเสนอแนะแนวทางการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรม มีดังนี้

๓.๑ สื่อสิ่งพิมพ์และวัสดุอุปกรณ์ ควรจัดหารสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมีความน่าสนใจ ใหม่ๆ มีทั้งภาพ เสียงบรรยายและเสียงดนตรีประกอบภาพ เป็นสื่อวัสดุอุปกรณ์สามารถใช้การนำสอนศีลธรรม ให้มีความหลากหลาย

๓.๒. สื่อธรรมชาติ ควรจัดหาสื่อที่มีอยู่ใกล้ตัวเรา ซึ่งสามารถหยิบยกมาเป็นผลิตสื่อนวัตกรรมเพื่อจัดการเรียนการสอนได้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้เรื่องศีลธรรม

๓.๓ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถานศึกษาควรหาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   มาเป็นสื่อช่วยสอนมีความน่าสนใจสะดวกในการค้นหาข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เพราะสื่อคอมพิวเตอร์สามารถรับรับสัญญาณผ่านเคเบิ้ลทีวี/ทีวีดาวเทียม มีทั้งภาพและสียงเหมาะสมกับการเรียนการสอนในปัจจุบัน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕