หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพงศานนท์ สุทฺธจิตฺโต (กมลศุภไพโรจน์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
แนวทางการพัฒนาการบริหารด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ชื่อผู้วิจัย : พระพงศานนท์ สุทฺธจิตฺโต (กมลศุภไพโรจน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาพงษ์ประภากรณ์ วิสุทฺธิญาณเมธี
  สุเทพ สารบรรณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวนโยบายในบริหารด้านการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายและ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

             ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยคำถามปลายปิด และคำถามปลายเปิด รวมถึงการสนทนากลุ่ม (Focus Group)

 

กลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) ในงานวิจัยครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น ๓๐ รูป/คน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ ๑) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น                      ๑๕ รูป/คน ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ พระสังฆาธิการ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน ๙ รูป กลุ่มที่ ๒ ผู้นำชุมชนในเขตอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน ๔ คน กลุ่มที่ ๓ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณูปการ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน ๒ คน และ ๒) ผู้สนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้แก่ พระสังฆาธิการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน ๑๕ รูป/คน

          ผลการวิจัย พบว่า แนวนโยบายในบริหารด้านการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ การตัดสินใจในการบริหารอยู่ที่เจ้าอาวาสและไวยาวัจกรเป็นส่วนใหญ่ จึงเกิดเป็นปัญหาในการบริหาร ปัญหาสาธารณูปการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ๑) การจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ไม่เป็นระบบระเบียบและหมวดหมู่ ๒) การยืม-คืนวัสดุอุปกรณ์ของวัด ชาวบ้านคนในชุมชนมายืมไป       แต่เอามาคืนไม่ครบตามจำนวนที่ยืม ๓) เงินทุนในการก่อสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ ๔) ผู้รับเหมาเปิดใบวางบิลกับร้านค้าแต่ออกชื่อบิลเป็นชื่อของวัด ผู้รับเหมาอ้างชื่อวัดเพื่อติดสินเชื่อในการไปเอาของจากร้าน ๕) การทิ้งงานก่อสร้างหรืองานบูรณปฏิสังขรณ์ออกมาไม่ตรงตามแบบแปลน ๖) การตัดสินและการบริหารอยู่ที่บุคคลฝ่ายเดียว

          แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา คือ ๑) จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งระบุเลขและชื่อวัด  ๒) ใช้ระบบการยืม-คืนที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีลายเซ็นผู้ยืมและผู้คืน พร้อมทั้งระบุวันที่ยืม-คืนไว้อย่างชัดเจน ๓) ให้ชาวบ้านในชุมชนเข้าส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ รับผลประโยชน์ และประเมินผลร่วมกัน ในทุกเรื่อง ๔) หากผู้รับเหมาเปิดบิลแต่ออกชื่อบิลเป็นชื่อของวัด ผู้รับเหมาอ้างชื่อวัดเพื่อติดสินเชื่อในการไปเอาของจากร้าน ต้องลงบันทึกประจำวัน หรือดำเนินคดีตามกฎหมาย ๕) ทำสัญญาหรือข้อตกลงที่ทางวัดสร้างขึ้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุการลงโทษผู้ทิ้งงานไว้อย่างชัดเจน เช่น ดำเนินการปรับเงิน หรือยกเลิกสัญญา เป็นต้น และหากเป็นเรื่องเงินทุนการก่อสร้างจำนวนมาก ถึงหลักล้านบาท ในอนาคตจำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาด้วยการฟ้องร้อง ๖) สร้างจิตสำนึกของคน คือ คณะกรรมการ ชาวบ้าน ให้มีความเป็นจิตอาสาให้สูง เพราะถ้าหากมีจิตอาสาต่ำ จะไม่มีความหวงแหนในสินทรัพย์สมบัติของวัดเป็นของตนเอง

          แนวนโยบายการพัฒนาในอนาคต คือ นำระบบการยืม-คืน วัสดุอุปกรณ์ของวัดที่เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้กับวัดอื่นๆ ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่มีความสนใจ เพื่อทำให้การจัดการศาสนวัตถุของวัดมีความเป็นระบบและลดปัญหาการคืนของที่ยืมไปไม่ครบตามจำนวน และทำระบบการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ ที่เป็นโปรแกรมระบบยืม-คืน ด้วยคอมพิวเตอร์ (ที่คล้ายคลึงกับระบบยืม-คืนหนังสือของห้องสมุด) โดยมีการจัดแบ่งหมวดหมู่ของศาสนวัตถุ และทำเป็นระบบสแกนบาร์โค้ด เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการยืม-คืน

 


Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕