หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อำนาจ ขัดวิชัย
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๖ ครั้ง
วิเคราะห์เทวดาปูนปั้นเชิงพุทธศิลปกรรมในล้านนา
ชื่อผู้วิจัย : อำนาจ ขัดวิชัย ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีรัตนากร
  วิโรจน์ วิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย “เรื่องวิเคราะห์เทวดาปูนปั้นเชิงพุทธศิลปกรรมในล้านนา” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเทวดาในพระพุทธศาสนา ๒)  เพื่อศึกษาการสร้างเทวดาปูนปั้นในพุทธศิลปกรรมล้านนา ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เทวดาปูนปั้นเชิงพุทธศิลปกรรมในล้านนา

แนวคิดเทวดาในพระพุทธศาสนา พบว่า เทวดา คือ สัตว์ชนิดหนึ่งที่ได้กระทำกรรมที่เป็นกุศลแต่ครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดเป็นเทวดา  มีความพิเศษในตัว ร่างกายงดงาม มีรัศมีสว่างไสวในยามที่ปรากฏกาย มีความสุข เล่นเพลิดเพลินสนุกสนานด้วยกามคุณทั้ง ๕ เทวดาจัดเป็นสัตว์ประเภทมีกายละเอียด ผุดเกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัย พ่อแม่ แต่เกิดโดยอาศัยอดีตกรรม ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาจัดเทวดาอยู่จำพวกโอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดผุดขึ้นเอง

การสร้างเทวดาปูนปั้นในพุทธศิลปกรรมล้านนา พบว่า ลักษณะการสร้างงานประติมากรรมเทวดาปูนปั้นล้านนาเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง ๒ มิติและ      ๓ มิติ มีปริมาณ มีน้ำหนัก และกินเนื้อที่ในอากาศ โดยใช้วัสดุชนิดต่างๆ วัสดุใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม กลายเป็นตัวกำหนดการสร้างผลงาน ความงามประติมากรรม เกิดจากแสงและเงา    ที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ ๔ วิธี คือ งานประติมากรรมการปั้น              งานประติมากรรมการแกะสลัก งานประติมากรรมการหล่อ งานประติมากรรมการประกอบขึ้นรูป แต่การสร้างเทวดาส่วนใหญ่จะใช้การปั้น เพราะสร้างสรรค์ได้ง่ายกว่าวิธีอื่นๆ

วิเคราะห์เทวดาปูนปั้นเชิงพุทธศิลปกรรมในล้านนา พบว่า ศิลปะเทวดาปูนปั้นในพระพุทธศาสนาปัจจุบันนั้นเป็นการสร้างสรรค์งานเชิงพุทธศิลปกรรมชั้นสูงซึ่งจะให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้สร้างนับว่าต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนางานเชิงพุทธศิลปกรรมให้ก้าวหน้าและมีคุณภาพ เพราะผู้สร้างสรรค์งานจะมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ในจิตใจ นอกจากนั้นผู้สร้างสรรค์งานต้องมีความเชี่ยวชาญในงานศิลปะประเภทนั้นๆ ตลอดจนความเข้าใจในหลักและปรัชญาทางพระพุทธศาสนาศาสนา จึงจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้ยิ่งใหญ่และมีคุณค่า คุณสมบัติเหล่านี้แตกต่างไปจากผู้สร้างงานศิลปะที่ไม่มีความเชี่ยวชาญที่สร้างงานศิลปะเพื่อสนองตอบความนึกคิดของตนเองเป็นหลัก แต่ผู้สร้างงานเชิงพุทธศิลปกรรมจึงมิใช่ของง่ายที่จะสร้างขึ้น         ซึ่งจะต้องพึ่งพาเหตุปัจจัยและองค์ประกอบมากมาย โดยการนำอดีตมารับใช้ปัจจุบัน

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕