หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายอนุศักดิ์ ปัญจาบุตร
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
การศึกษาราชสีห์กับสัญลักษณ์ทางธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : นายอนุศักดิ์ ปัญจาบุตร ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  ดร. สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  ดร. สมิทธิพล เนตรนิมิตร
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาราชสีห์กับสัญลักษณ์ทางธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
จากการศึกษาพบว่า ราชสีห์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามี ๔ ชนิด ๑. ติณสีห์ ๒.กาฬสีห์ ๓. ปัณฑุสีห์ ๔. ไกรสรสีห์ ไกรสรราชสีห์เป็นพญาราชสีห์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดในบรรดาราชสีห์ทั้ง ๔ ชนิด ตามคติความเชื่อของชาวพุทธในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เคยเสวยพระชาติเป็นราชสีห์ ๑๐ ครั้ง
คัมภีร์อรรถกถาสะท้อนภาพให้เห็นเรื่องราวของราชสีห์ที่มีต่อพระโพธิสัตว์ พระสาวก และอดีตชาติของพระภิกษุบางรูปได้อย่างเป็นรูปธรรม การนำกิริยาทาทางอันสง่างามของราชสีห์ มาเปรียบเทียบกับบุคลิกลักษณะของผู้มีบุญวาสนา เช่น พระมหาบุรุษมีพระหนุดุจคางของราชสีห์ และมีพระดำเนินงดงามดุจราชสีห์ แสดงให้เห็นว่าราชสีห์เป็นสัตว์ชั้นสูงมีอำนาจ มีความสะอาด รักความสงบและสันโดษ คำอุปมาอุปไมยล้วนชี้ให้เห็นว่า ราชสีห์
เป็นสัญลักษณ์และแบบอย่างของการประมาณตนของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ด้านประติมากรรม จิตรกรรม รูปปั้นและภาพวาดของราชสีห์ตามศาสนสถานที่สำคัญทางศาสนามากมาย เช่น ในวัดคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบงานประติมากรรม รูปราชสีห์ตั้งอยู่ แสดงถึงคตินิยมที่ว่าราชสีห์มีอำนาจ สามารถปกป้องคุ้มครองศาสนสถานได้หน่วยงานของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน ก็ได้นำเอาราชสีห์มาเป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย อันแสดงถึงคติความเชื่อในเรื่องราชสีห์ที่ได้รับอิทธิพลจากคติทางศาสนาทั้งฝ่ายฮินดูและพุทธเพราะฉะนั้น ราชสีห์จึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งความดี ที่ยังมีอิทธิพลต่อแนวคิดของชาวพุทธ ที่ถูกสืบทอดมาจากอดีตอันยาวนานสู่ปัจจุบัน และคงอยู่ และจะมีคตินิยมนี้อยู่ในสังคมไทยตราบนานเท่านาน
Download :  255116.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕