การศึกษาตัวแบบความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการผชิญความตายอย่างมีสติของผู้สูงวัยบนโลกเสมือนจริงนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทั่วไปของผู้สูงวัยกับการแสดงเจตจำนงดิจิตอลก่อนตายบนโลกเสมือนจริง ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทั่วไปของผู้สูงวัยกับความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการเผชิญความตายอย่างมีสติ บนโลกเสมือนจริง ๓) เพื่อสร้างตัวแบบความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการผชิญความตายอย่างมีสติของผู้สูงวัยบนโลกเสมือนจริง เป็นการวิจัยแบบสำรวจเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งชุดจำนวน ๓๓ ข้อ เท่ากับ .๘๗๓ ผ่านระบบ Google survey online ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปี จำนวน ๒๒๕ ราย สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
๑. ผู้สูงวัยกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๘๒.๒ และเพศชาย ร้อยละ ๑๗.๘ มีอายุเฉลี่ย ๕๖ ปี ๔ เดือน แบ่งเป็นช่วงอายุ ๕๐-๕๔ ปี ร้อยละ ๔๗.๕ ช่วงอายุ 55-60 ปี ร้อยละ 27.6 และช่วงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ร้อยละ 24.9 จบการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ ๑๒.๙ ปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ ๔๘.๔และปริญญาโท/เอก ร้อยละ ๓๘.๗ อาชีพส่วนใหญ่เป็นราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ ๘๑.๘ สำหรับรายได้ส่วนใหญ่ สูงกว่า ๒๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน ร้อยละ ๘๕.๗% สถานะสมรสใช้ชีวิตคู่ ร้อยละ ๖๑.๓ โสด ร้อยละ ๒๖.๒ และหย่าร้าง/หม้าย ร้อยละ ๑๒.๕% อาศัยอยู่กับครอบครัวและลูกหลาน ร้อยละ ๗๗.๘ อยู่ตัวคนเดียว ร้อยละ ๑๗.๓ และอยู่กับญาติหรือกัลยาณมิตร ร้อยละ ๔.๙
๒. ผู้สูงวัยที่ใช้ชีวิตบนโลกเสมือนจริง ส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์สื่อสารมากที่สุด ร้อยละ ๙๐.๗ รองลงมาเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ร้อยละ ๔๘.๙ คอมพิวเตอร์พกพา ร้อยละ ๒๘.๙ และ แท็ปเล็ปร้อยละ ๒๔.๙ โดยช่องทางการสื่อสารออนไลน์ผ่าน Line มากสุด ร้อยละ ๘๐.๐ รองลงมา Google Facebook You tube e-mail Instagram Twiitter และ Blog ร้อยละ ๗๒.๙ ๖๙.๓ ๕๓.๓ ๕๐.๒ ๑๒.๐ ๓.๖ ๓.๑ และ ๐.๙ ตามลำดับ
๓. ผู้สูงวัยจำนวน ๗ ใน ๑๐ คน (ร้อยละ ๗๓.๓) มีเจตคติต่อการแสดงเจตจำนงก่อนตายในระดับดี และ ๘ ใน ๑๐ คน (ร้อยละ ๗๗.๐) มีความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการเผชิญความตายอย่างมีสติ ในระดับดี
๔. เจตคติต่อการแสดงเจตจำนงก่อนตายของผู้สูงวัยมีความสัมพันธ์กับเพศสภาพ อาชีพเดิม รายได้ และสถานภาพสมรส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.๑
๕. ความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการเผชิญความตายอย่างมีสติของผู้สูงวัย มีความสัมพันธ์กับ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส สมาชิกครอบครัว การรับรู้พรบ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา๑๒ การแสดงเจตจำนงก่อนตาย และ สถานที่ต้องการเสียชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.๑
๖. ตัวแบบความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการผชิญความตายอย่างมีสติของผู้สูงวัยบนโลกเสมือนจริง(Multiple Logistic regression) ที่สร้างจากตัวแปรอิสระ ๑๔ ตัว มีอำนาจการพยากรณ์ได้ถูกต้องร้อยละ ๓๘.๕ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ เมื่อพิจารณาจาก Odds ratio (OR) พบว่า
๖.๑ ผู้สูงวัยที่มีเจตคติต่อการแสดงเจตจำนงก่อนตายในระดับดีจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ๗.๑ เท่าของระดับพอใช้
๖.๒ ผู้สูงวัยเพศหญิงจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์มากกว่า ๑.๔ เท่าของเพศชาย
๖.๓ ผู้สูงวัยที่มีอายุมากขึ้นจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์จะลดลง โดยผู้สูงวัยที่มีอายุ ๕๐-๕๕ปี จะโอกาสต่อความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการเผชิญความตายอย่างมีสติในระดับดี ๒.๙ เท่า และ ผู้สูงวัยที่มีอายุ ๕๕-๖๐ปี เพิ่มขึ้น ๑.๖ เท่า (อ้างอิง: ผู้สูงวัย อายุ ๖๐ปีขึ้นไป)
๖.๔ ผู้สูงวัยที่มีการศึกษาสูงขึ้นจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น โดยผู้จบปริญญาโท/เอก เพิ่มขึ้น ๑.๖ เท่า แต่ในทางตรงข้ามผู้จบระดับปริญญาตรีกลับลดลง ร้อยละ ๕๓ (อ้างอิง: ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี )
๖.๕ ผู้สูงวัยที่มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/เกษตรกร จะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ๑.๓ เท่า และอาชีพข้าราชการ/มีรัฐวิสาหกิจ เพิ่มขึ้น ๒.๔ เท่า (อ้างอิง: ผู้รับจ้างทั่วไป)
๖.๖ ผู้สูงวัยที่มีรายได้มากขึ้นจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น โดยรายได้ระหว่าง ๙,๐๐๐– ๒๐,๐๐๐ บาท เพิ่มขึ้น ๓.๑ เท่า และรายได้ สูงกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท เพิ่มขึ้น ๔.๘ เท่า (อ้างอิง: รายได้ต่ำกว่า ๙,๐๐๐ บาท)
๖.๗ ผู้สูงวัยที่มีสถานภาพโสดจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์มากกว่า ๑.๒ เท่า และหม้าย/หย่าร้าง มากกว่า ๙.๖ เท่า (อ้างอิง: ชีวิตคู่ )
๖.๘ ผู้สูงวัยที่การอาศัยอยู่กับครอบครัว/ลูกหลานจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์มากกว่า ๗.๔ เท่า และอาศัยอยู่กับญาติ/กัลยาณมิตรมากว่า ๑๗.๖ เท่า (อ้างอิง:อยู่คนเดียว)
๖.๙ ผู้สูงวัยที่มีประสบการณ์ปฎิบัติธรรมต่อเนื่อง๗วัน จะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ๒.๒ เท่าของผู้ไม่ปฏิบัติธรรม
๖.๑๐ ผู้สูงวัยที่รับรู้พรบ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา๑๒ เรื่องการแสดงเจตจำนงก่อนตายจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ๑.๗ เท่าของผู้ไม่ทราบ
๖.๑๑ ผู้สูงวัยที่มีความพร้อมทำเจตจำนงก่อนตายจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ๒.๕ เท่าของผู้ไม่พร้อมทำ
๖.๑๒ ผู้สูงวัยที่มีความต้องการใช้เครื่องพยุงชีพจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ๑.๓ เท่าของผู้ไม่ใช้
๖.๑๓ ผู้สูงวัยที่มีความต้องการบริจาคร่างกายจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ๑.๓ เท่าของผู้ไม่บริจาค
๖.๑๔ ผู้สูงวัยที่มีความต้องการเสียชีวิตที่บ้านจะมีความแข็งแกร่งทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ๑.๓ เท่าของผู้ต้องการเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
ตัวแบบความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการผชิญความตายอย่างมีสติของผู้สูงวัยบนโลกเสมือนจริง ที่ผูวิจัยสร้างจากงานวิจัยนี้ สามารถนำมาใชพยาการณ์คะแนนความแข็งแกร่งทางอารมณ์ต่อการเผชิญความตายอย่างมีสติของผู้สูงวัยได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕
Download |