หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสามารถ กนฺตวีโร (พานทอง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๒ ครั้ง
การบริหารปัจจัย : กรณีศึกษาพระทัพพมัลลบุตรเถระ(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระสามารถ กนฺตวีโร (พานทอง) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  อาจารย์รังษี สุทนต์
  อาจารย์รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การบริหารปัจจัย : กรณีศึกษาพระทัพพมัลลบุตรเถระ” ซึ่งผู้วิจัย
ได้ตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การบริหารปัจจัยของคณะสงฆ์
สมัยพุทธกาล (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การบริหารปัจจัยของพระทัพพมัลลบุตรเถระ และ (๓) เพื่อ
การประยุกต์ใช้การบริหารปัจจัยที่พึงประสงค์ในคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน
การบริหารปัจจัยของคณะสมัยพุทธกาล จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการบริหารปัจจัย
เป็นสิ่งสำคัญแห่งการดำรงชีวิตร่วมกันของสังคมสงฆ์ โดยมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารปัจจัยเพื่อ
ให้เกิดความเป็นธรรม (ยุติธรรม) และ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแห่งการเดินเนินชีวิตในสังคมสงฆ์
และเพื่อให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตเท่าที่จำเป็น ซึ่งการบริหารจัดการในคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล
มีการปรับเปลี่ยนไปโดยลำดับ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และการขยายตัวขององค์กร
คณะสงฆ์ โดยในช่วงต้นพุทธกาล การปกครองจะรวมศูนย์อยู่ที่พระพุทธองค์ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจ
ในการให้อุปสมบท การปกครองดูแล และการอบรมสั่งสอน ต่อมาหลังจากมีการส่งพระสาวก
ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังที่ต่างๆ เป็นเหตุให้มีผู้ต้องการเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนามาก
ยิ่งขึ้น พระพุทธองค์จึงได้เริ่มกระจายอำนาจในการปกครอง โดยเริ่มจากการให้พระสาวกผู้เป็น
พระอรหันต์ แต่ละรูปมีอำนาจในการให้อุปสมบท และให้การศึกษาอบรมพระภิกษุใหม่ ผู้เป็น
สิทธิวิหาริกของตนต่อมาเมื่อคณะสงฆ์มีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนโดยมีอารามหรือวัดเป็นศูนย์กลาง.
เช่นวัดเวฬุวัน วัดเชตวัน วัดนิโครธาราม เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับรูปแบบการบริหาร
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับรูปแบบของชุมชน ดังนั้นพระพุทธองค์จึงมอบอำนาจการบริหารให้แก่
คณะสงฆ์โดยส่วนรวม หมายถึงการให้สงฆ์ หรือหมู่คณะสงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครอง การตัดสิน
ชี้ขาดปัญหาต่างๆ ซึ่งผลของการกระจายอำนาจครั้งนี้ทำให้เกิดรูปแบบการบริหารปัจจัย ที่อาศัยมติ
หรือความเห็นชอบของหมู่คณะที่เรียกว่า “สังฆกรรม” เช่นการให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐินและ
การมอบหมายแต่งตั้งให้พระรูปใดรูปหนึ่งมีหน้าที่ผิดชอบในเรื่องต่างๆ
การบริหารปัจจัยของพระทัพพมัลลบุตร จากการศึกษาพบว่า เป็นหลักการบริหารปัจจัย
ที่เน้นหลักอคติ ๔ อย่าง กล่าวคือไม่ลำเอียงเพราะชอบ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ไม่ลำเอียงเพราะหลง
ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ส่วนวิธีการบริหารปัจจัยของพระทัพพมัลลบุตร กรณีการจัดแจงภัตตาหาร
ให้พระภิกษุสงฆ์ไปฉันในที่มีผู้นิมนต์ โดยยึดหลักแห่งความเสมอภาค และตามอาวุโสหมายถึงผู้ที่
ประกอบด้วยคุณวุฒิวัยวุฒิที่บวชมาก่อน และก็ยังจัดตามความคุ้นเคยกับเจ้าภาพเพื่อความต้องการ
ของเจ้าภาพ ท่านมีวิสัยทัศน์ในการวิเคราะห์คน เช่นการจัดให้ผู้มีอัธยาศัยคล้ายๆ กัน ให้รวมเป็น
กลุ่มเป็นพวกอยู่ในที่แห่งเดียวกันเพื่อจะได้ทำกิจร่วมกัน ไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน และยังจัดตาม
ความประสงค์ของผู้ที่ต้องการจะพัก เป็นต้น
การบริหารปัจจัยของพระทัพพมัลลบุตร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรคณะสงฆ์
ไทยสมัยปัจจุบันที่น่าจะพึงประสงค์ดังนี้ คือโดยเหตุที่คณะสงฆ์ไทยปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการรวม
ศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งทำให้ขาดความคล่องตัวในการบริหารงานในด้านต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นด้านการแจกภัต (อาหาร) และด้านเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) ดังนั้นหลักการบริหารปัจจัย
ของพระทัพพมัลลบุตร สามารถนำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาดังกล่าวนี้ได้ โดยการบริหารปัจจัยของ
คณะสงฆ์จะต้องเน้นการให้ความยุติธรรมในทุกๆ เรื่อง กล่าวคือการปฏิบัติหน้าที่โดยความเสมอ
ภาค ไม่ลำเอียงเพราะชอบไม่ลำเอียงเพราะชัง ไม่ลำเอียงเพราะหลง ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อกล่าวโดยสรุป หลักการนี้ได้ชื่อว่าเป็นพื้นฐานแห่งการอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันเมื่อ
ไม่มีความลำเอียงแล้วก็ย่อมเป็นที่รักของผู้ที่อยู่ร่วมในองค์กรเดียวกัน ซึ่งเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน
อันเป็นการสงเคราะห์กันด้วยน้ำใจอันดี
Download :  255130.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕