หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนพดล สุทฺธิธมฺโม (มูลทาดี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๓ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบพิธีศพในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ชื่อผู้วิจัย : พระนพดล สุทฺธิธมฺโม (มูลทาดี) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  แสวง นิลนามะ
  พระราชสิทธิมุนี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาพิธีศพในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒) เพื่อศึกษาพิธีศพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  และ ๓) เพื่อเปรียบเทียบพิธีศพในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร เปรียบเทียบข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า

พระพุทธศาสนาเถรวาท มีทัศนะว่า การจัดพิธีศพเป็นคติธรรมความเชื่อที่เชื่อมโยงกับหลักธรรมในทางศาสนา เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับไปเกิดในสุคติภูมิ เป็นการแสดงออกถึงน้ำใจที่ดีงาม และแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตา ซึ่งเป็นคติธรรมในทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการทำบุญอุทิศให้ดวงวิญญาณของผู้ตายนั้นไปสู่สรวงสวรรค์

ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีทัศนะว่า การจัดพิธีศพเป็นไปเพื่อระลึกถึงความตายในรูปแบบที่เป็นธรรมสม่ำเสมอซึ่งกำหนดโดยพระเวท พิธีกรรมส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยครอบครัว พิธีกรรมบางอย่างที่ทำโดยนักบวช ชาวฮินดูเชื่อว่าเมื่อคนตายลงนั้นเป็นเพียงการสละร่างเก่าของวิญญาณเพื่อหาร่างใหม่เท่านั้น

นัยที่เหมือนกัน ทั้งพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่า การประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับศพ นอกจากเป็นการชำระสิ่งปฏิกูลแล้ว ยังเป็นทำบุญอุทิศเพื่อนำส่งดวงวิญญาณไปสู่สุคติ ส่วนที่ต่างกันคือการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นการทำบุญแก่พระภิกษุสงฆ์แล้วอุทิศส่วนบุญกุศลและมีการเก็บอัฐิไว้บูชา ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มุ่งถึงพิธีกรรมและสถานที่นำส่งดวงวิญญาณคือแม่น้ำคงคาเป็นสำคัญ ด้วยคิดว่านั่นเป็นวิธีที่จะนำดวงวิญญาณเข้าสู่ภพแห่งพระผู้เป็นเจ้า และการได้นำพาวิญญาณเข้าสู่โมกษะ และไม่มีการเก็บอัฐิไว้บูชา

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕