หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พิเชษฐ อ่อนสุวรรณ
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๘ ครั้ง
แนวทางการทำการวิจัยในชั้นเรียนตามหลักอริยสัจ 4 สำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยาเขต 2 (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พิเชษฐ อ่อนสุวรรณ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  เกษม แสงนนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคการทำงานวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต ๒ (๒) เพื่อศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษาและวิธีการปฏิบัติตามหลักอริยสัจ ๔ (๓) เพื่อเสนอแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนตามหลักอริยสัจ ๔ สำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต ๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครู (คศ.๓) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒ จำนวน ๑๐ ท่าน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า

สภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคการทำงานวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต ๒ แบ่งออกเป็น ๓ ด้าน คือ ด้านผู้สอน ด้านวิธีการสอน และด้านผู้เรียน

๑. ด้านผู้สอน ครูมีความรู้ในการทำงานวิจัยในชั้นเรียนค่อนข้างน้อย ขาดความมั่นใจกลัวการทำวิจัย เห็นว่า การทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากต้องทำนวัตกรรมเครื่องมือหาต้องค่าต่าง ๆ ครูมีภาระงานมากอยู่แล้ว ทำงานวิจัยออกมาแล้ว ทำให้งานวิจัยไม่มีประสิทธิ์ภาพ เพราะขาดที่ปรึกษาในการทำวิจัย

๒. ด้านวิธีการสอนในรูปแบบใหม่ การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาส่งเสริมตัวผู้เรียน เพื่อหาวิธีการสอนในรูปแบบใหม่ คือ การสร้างเครื่องมือ นวัตกรรม บทเรียนสำเร็จรูป หรือวิธีการอื่น ๆ ที่ครูจะสามารถนำมาพัฒนาส่งเสริมให้ผู้เรียนมีศักยภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดียิ่งขึ้นไป

๓. ด้านผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ นักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อน มีพัฒนาการในการเรียนรู้ช้ากว่าเพื่อนในห้อง และมีพฤติกรรมก่อกวนก้าวร้าว

 สามารถนำเอามาเป็นแนวทางการทำวิจัยในแบบบูรณาการหลักพุทธธรรมเข้าไปในกระบวนการการวิวิจัยในชั้นเรียน คือ ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน สมุทัย ก็คือการหาทางการแก้ปัญหาที่จะทำให้ปัญหานั้นหายไป นิโรธ คือการดำเนินการทำวิจัยแล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ และ มรรค คือการสรุปผลการทำวิจัย เห็นได้ว่า หลักธรรมอริยสัจอริยสัจสี่และการทำวิจัยในชั้นเรียนมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันจริง  

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕