หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพิสัยปริยัติกิจ (แก่น อคฺควณฺโณ )
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๖ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์วัฒนธรรมการให้เชิงพุทธในสังคมไทย(๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพิสัยปริยัติกิจ (แก่น อคฺควณฺโณ ) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  ศ.ดร. กาญจนา เงารังษี
  ผศ. อานนท์ เมธีวรฉัตร
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการให้เชิงพุทธในสังคมไทย มีวัตถุ  ประสงค์ ๓ ประการ คือ  ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดรูปแบบและลักษณะของการให้เชิงพุทธ  ๒) เพื่อศึกษาการให้เชิงพุทธในสังคมไทย  ๓) เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมการให้เชิงพุทธในสังคมไทยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา เชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นวิจัยทางเอกสารคือพระสุตตันตปิฎก 

การวิจัยพบว่า การให้จัดเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะรองรับการทำความดีอื่นๆ  ที่จะตามมา เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งยังทรงสร้างบารมีนั้น พระองค์ได้ทรงอาศัยการบำเพ็ญทานบารมีเป็นจุดเริ่มต้นของการบำเพ็ญบารมีขั้นสูง และในที่สุดพระองค์ก็ทรงบรรลุความสำเร็จขั้นสูงสุดในชีวิต รูปแบบของการให้มีหลักอยู่  ๓ ประการ ๑)  เขตสมบัติ  บุญเขตถึงพร้อม  ๒) ไทยธรรมสมบัติ  ไทยธรรมถึงพร้อม  ๓) จิตตสมบัติ  เจตนาถึงพร้อม ลักษณะของการให้  ก็จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งในหลักของการให้มีเจตนาบริสุทธิ์หรือไม่  เพราะบุคคลแม้จะให้ทานด้วยวัตถุมากมาย  และมีราคาแพงแค่ไหนก็ตาม  ทานนั้นไม่จัดว่าให้ผลมากกว่าทานที่ผู้ให้มีจิตประกอบด้วยเมตตา

 พระพุทธศาสนานั้นมีความสำพันธ์กับสังคมไทย และมีคุณค่าทางด้านสังคมไทยเป็นพื้นฐานการหยั่งรากของการให้ของชาวพุทธในทางพระพุทธศาสนาสู่จิตใจคน ทำให้คนในสังคมมีความอ่อนน้อมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันเห็นอกเห็นใจกัน และการให้ในสังคมไทยนั้นยังสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย นอกจากนี้พระพุทธศาสนายังมีความสำคัญต่อบุคคล และสังคมส่วนรวม แม้วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเองก็สะท้อนให้เห็นภาพของสังคมไทยในแต่ละยุคสมัยตลอดจนท้องถิ่นนั้นๆ  จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยและยึดปฏิบัติมาจนปัจจุบันนี้

ชาวพุทธในสังคมไทยปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจเรื่องการให้ทานในพระพุทธศาสนาคลาดเคลื่อนอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า การให้ทานนั้นเป็นเพียงการถวายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่พระสงฆ์ หรือให้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่คนอื่น และชอบถวายทานโดยการเจาะจงบุคคลเป็นส่วนมาก ซึ่งถือว่าเป็นการให้ที่ไม่ถูกต้องตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ในทางพระพุทธศาสนานั้นการให้ทานที่ประเสริฐและควรยกย่อง คือ การให้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ส่วนรวม เพราะถือว่าเป็นธรรมขั้นแรกที่ควรบำเพ็ญ ดังเช่น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ที่ปรารถนาพระสัพพัญญู ก็ต้องอาศัยการบำเพ็ญทานบารมีเป็นขั้นต้น ก่อนจะบำเพ็ญบารมีขั้นสูงต่อไป ดั้งนั้น ถ้าชาวพุทธในสังคมไทยได้ศึกษาเรื่องการให้ทานในพระไตรปิฎก และทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องของการให้ทานตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ก็จะทำให้ชาวพุทธนั้นเข้าใจเรื่องการให้ทาน เห็นความสำคัญของการบำเพ็ญทานบารมี ซึ่งถือว่าเป็นการกำจัดกิเลสคือความตระหนี่ และความโลภภายในจิตใจของตนให้หมดไปเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำตนไปสู่การบำเพ็ญทานขั้นสูงสุดได้ในที่สุด

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕